Information and Knowledge Management

PlAwAnSaI

Administrator

ทำไมต้องมีการจัดการสารสนเทศและความรู้:
  1. การเปลี่ยนแปลงระดับโลก:
    • การเปลี่ยนผ่านของสังคมโลก...
      • จากสังคมเกษตรกรรม > สังคมอุตสาหกรรม > สังคมสารสนเทศ > สังคมความรู้
    • ความก้าวหน้าทางด้าน Technology สารสนเทศและการสื่อสาร
    • แปลงความรู้ให้เป็นนวัตกรรม สินค้า และบริการใหม่ๆ
    • ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  2. เปลี่ยนแปลงระดับสังคม:

    ทุนนิยมใหม่:
    1. Landscape เป็นรากฐานการสร้างอารยธรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นรูปธรรม เช่น ทำเลที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
    2. Marketscape รากฐานการสร้างอารยธรรมที่เกิดขึ้นโดยน้ำมือมนุษย์ เช่น ระบบการศึกษา ระบบตลาด ระบบ Logistic ระบบสวัสดิการสังคม
    3. Mindscape เป็นนามธรรมและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ความผูกพัน ความเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน นับถือในคุณค่าของความเป็นมนุษย์
    4. Cyberscape รากฐานทางอารยธรรมที่สร้างขึ้นเป็นโลก Cyber มี Technology Digital และ Internet เป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ
  3. เปลี่ยนระดับองค์กร: เมื่อก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เราต้องเรียนรู้ให้รวดเร็วกว่าคู่แข่ง เรียนรู้ที่สัมพันธ์กับการทำงาน และสามารถปฏิบัติงานได้ดี และมีประสิทธิภาพมากและคุณภาพยิ่งขึ้น

    แนวโน้มและทิศทางขององค์กรสมัยใหม่:
    1. เน้นที่พนักงาน > เน้นที่ผลการปฏิบัติงาน (Performance)
    2. ปรับปรุงคุณภาพ > ปฏิรูปกระบวนการทำงาน (Work Process Improvement)
    3. ใช้การฝึกอบรมเป็นหลัก > เรียนรู้โดยตรงจากงาน
    4. เน้นผลงานของแต่ละบุคคล > เน้นการทำงานเป็น Team (Teamwork)
    5. แบ่งงานตามหน้าที่ > แบ่งงานตามกระบวนการ
    6. บริหารด้วยการควบคุม > มอบอำนาจให้พนักงานมากขึ้น
    7. มีแผนกฝึกอบรม > แสวงหาแหล่งฝึกอบรมจากภายนอกมากขึ้น
    8. ผู้รับการฝึกอบรม > ผู้เรียน
    9. คิดในระดับท้องถิ่น > คิดระดับโลก (Think Global but Do Local)
    • โลกของการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป:
      1. งานไร้ทักษะ > งานที่ต้องใช้ความรู้
      2. การทำงานที่ซ้ำซากจำเจ > งานสร้างสรรค์
      3. งานใครงานมัน > Team งาน
      4. งานตามหน้าที่ > งานตามโครงการ
      5. งานที่ใช้ทักษะอย่างเดียว > งานที่ใช้ทักษะหลากหลาย
      6. อำนาจของหัวหน้า > อำนาจของลูกค้า
      7. การสั่งการจากเบื้องบน > การประสานงานกับเพื่อนร่วมงาน
    • องค์กรขับเคลื่อนด้วยคนที่มีความรู้ (Knowledge workers)
    • เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ การเรียนรู้ และ ความรู้
    • องค์กรสมรรถนะสูง / องค์กรอัจฉริยะ
  4. ระดับบุคคล:
    • กระบวนการทำงานที่มุ่งเน้น คุณภาพ ความเป็นเลิศ และการแข่งขันในระดับโลก
    • 1995 Nonaka 'The Knowledge Creation Company'
    • ใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Processes) ในการทำงาน
cool.gif
 
Top