CCNA

PlAwAnSaI

Administrator
CCNA คือ Cisco Certified Network Associate เป็นบันไดก้าวแรกสำหรับสายงานด้าน Network Implementation และ Network Support

สิ่งที่ควรทราบสำหรับผู้ที่จะสอบ CCNA:
  1. ข้อสอบเป็นแบบเลือกคำตอบที่ถูกต้อง มีหลายตัวเลือก
  2. ไม่สามารถย้อนกลับได้ (ทำไม่ได้ก็ต้องเลือกตอบ)
  3. มีเวลา 2 ชั่วโมงเต็ม
4. มีกระดาษทดให้ สำหรับคำนวณในข้อสอบแล็ป
5. ลงทะเบียนในการสอบ ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า 2-3 วัน
6. หากจะสอบใหม่ สามารถลงทะเบียนหลังจากสอบไม่ผ่าน 2สัปดาห์
7. ข้อสอบมี 55-65 ข้อ ไม่ต้องรีบ ควรอ่านคำถามให้ดีก่อนตอบ
8. ไปถึงที่สอบก่อนสัก ชม. กำลังดี จริงๆ ถ้าไปถึงก่อนจะขอสอบก่อนเลยก็ได้
เนื้อหา


[li]Internetworking Concepts Overview
[/list]
OSI Model (OSI 7 Layer)
โมเดลมาตรฐาน OSI 7 เลเยอร์
g7g01.gif

รูป แสดง OSI Model 7 เลเยอร์
หน้าที่ของแต่ละเลเยอร์
Application Layer
เป็นเลเยอร์ที่กำหนดอินเตอร์เฟซระหว่างแอปพลิเคชันที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์กับซอฟต์แวร์สื่อสารต่างๆ ที่ทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น เว็บเบราเซอร์ถือว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อมันต้องการรับส่งข้อมูลเว็บเพจกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ มันจะอาศัยความสามารถของเลเยอร์ 7 ในการอินเตอร์เฟซกับซอฟต์แวร์สื่อสารในเลเยอร์ต่างๆ ระดับล่างเพื่อให้ได้มาซึ่งเว็บเพจที่ัมันต้องการ
Presentation Layer
จุดประสงค์หลักของเลเยอร์นี้ก็คือ กำหนดฟอร์แมตของการสื่อสาร อย่างเช่น ASCII Text, EBCDIC, ไบนารี (binary) และ JPEG การเข้ารหัสก็รวมอยู่ในเลเยอร์นี้ด้วย ตัวอย่างเช่น โปรแกรม FTP ต้องการรับส่งโอนย้ายไฟล์กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง โปรโตคอล FTP จะอนุญาตให้ผู้ใช้ระบุฟอร์แมตของข้อมูลที่โอนย้ายกันได้ว่าเป็นแบบ ASCII Text หรือเป็นแบบไบนารี
Session Layer
เป็นเลเยอร์ที่ควบคุมการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทางแบบ End to End และคอยควบคุมช่องทางการสื่อสารในกรณีที่มีหลายๆ โปรเซสต้องการรับส่งข้อมูลพร้อมๆ กันบนเครื่องเดียวกัน และยังให้อินเตอร์เฟซสำหรับแอปพลิเคชันเลเยอร์ด้านบนในการควบคุมขั้นตอนการทำงานของโปรโตคอลในระดับ Transport/Network อย่างเช่น Socket ที่ใช้ในยูนิกซ์ หรือ Windows Socket ที่ใช้ในวินโดวส์ ซึ่งได้ให้ Application Programming Interface (API) แก่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับบนสำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP ในระดับล่าง
Transport Layer
เป็นเลเยอร์ที่มีหน้าที่หลักๆ ในการแบ่งข้อมูลในเลเยอร์บนให้พอเหมาะกับการจัดส่งไปในเลเยอร์ล่าง (segmentation), ทำหน้าที่ประกอบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาจากเลเยอร์ล่าง (assembly) และให้บริการในการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในระหว่างทางของการส่ง (error recovery) หน่วยของข้อมูลในเลเยอร์นี้มักถูกเรียกว่า Segment ตัวอย่างของโปรโตคอลในเลเยอร์นี้่ที่รู้จักกันดีก็คือโปรโตคอล TCP และ UDP
Network Layer
เป็นเลเยอร์ที่มีหน้าที่หลักในการส่งแพ็กเก็ตจากเครื่องต้นทางใ้ห้ไปถึงเครื่องปลายทางด้วยความพยายามที่ดีที่สุด (best effort delivery) เลเยอร์นี้จะกำหนดให้มีการตั้งลอจิคัลแอดเดรสขึ้นมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารเพื่อใช้ระบุตัวตน ตัวอย่างของโปรโตคอลเลเยอร์นี้ได้แก่ โปรโตคอล IP และลอจิคัลแอดเดรสที่ใช้ก็คือหมายเลข IP Address นั่นเอง
เลเยอร์นี้เป็นเลเยอร์ที่เกี่ยวข้องกับซิสโก้เร้าเตอร์มากที่สุด มันจะให้บริการใน Network Layer โดยตรง เมื่อมันได้รับแพ็กเก็ตมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ มันก็จะพยายามหาให้ได้ว่าจะส่งแพ็กเก็ตออกไปทางอินเตอร์เฟซไหนของมัน เพื่อให้ไปถึงยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางให้ได้ โปรโตคอลที่ทำงานในเลเยอร์นี้จะไม่ทราบว่าแพ็กเก็ตจริงๆ แล้วไปถึงเครื่องปลายทางหรือไม่ หน้าที่ของการยืนยันว่าข้อมูลได้ไปถึงปลายทางจริงๆ แ้ล้วก็คือหน้าที่ของ Transport Layer นั่นเอง
หน่วยของการรับส่งข้อมูลในเลเยอร์นี้คือ "แพ็กเก็ต (packet)"
อย่างเช่น Connection-Oriented Network Protocol CONP หรือบริการแบบ Connectionless (การส่งข้อมูลแบบไม่มีการสร้า้งการเชื่อมต่อกัน) เช่น Connectionless network Protocol CLNP
Datalink layer
รับผิดชอบในการส่งข้อมูลบนเน็ตเวิร์กแต่ละประเภทเช่น Ethernet, Token Ring, FDDI หรือบน WAN ต่างๆ และดูแลเรื่องการห่อหุ้มข้อมูลจากเลเยอร์บนเช่นแพ็กเก็ต IP ไว้ภายใน "เฟรม" และส่งจากต้นทางไปยังอุปกรณ์ตัวถัดไป เลเยอร์นี้จะเข้าใจได้ถึงกลไกและอัลกอริทึมรวมทั้งฟอร์แมตของเฟรมที่ต้องใช้ในเน็ตเวิร์กประเภทต่างๆ เป็นอย่างดี
ในเน็ตเวิร์กแบบอีเทอร์เน็ต การสื่อสารในเลเยอร์นี้จะมีการระบุหมายเลขแอดเดรสของเครื่อง/อุปกรณ์ต้นทางกับเครื่อง/อุปกรณ์ปลายทางด้วยฮาร์ดแวร์แอดเดรสที่เรียกว่า MAC Address ผู้ใ้ช้งานอีเทอร์เน็ตจะพบว่า เน็ตเวิร์กการ์ดที่เสียบอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีหมายเลข MAC Address กำกับอยู่เสมอ MAC Address นี้เป็นแอดเดรสที่ฝังมากับฮาร์ดแวร์ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโดยผู้ใช้ปลายทางได้ MAC Address เป็นตัวเลขขนาด 6 ไบต์ 3 ไบต์แรกจะได้รับการจัดสรรโดยองค์กรกลาง IEEE ให้กับผู้ผลิตแต่ละราย ส่วนตัวเลข 3 ไบต์หลังนั้น ทางผู้ผลิตจะไปกำหนดเอง
หน่วยของการรับส่งข้อมูลในเลเยอร์นี้คือ "เฟรม (frame)"
Physical Layer
เลเยอร์นี้จะกำหนดมาตรฐานของสัญญาณทางไฟฟ้าและมาตรฐานของคอนเน็กเตอร์เชื่อมต่อต่างๆ รวมถึงมาตรฐานของสายเคเบิลที่จำเป็นต้องใช้ เช่น มาตรฐานสาย CAT ประเภทต่างๆ, มาตรฐานของหัวต่อเชื่อม V.35 ที่ใช้ใน WAN และมาตรฐาน RS232 เป็นต้น รวมทั้งแรงดันทางไฟฟ้าและรูปแบบการรับส่งบิตข้อมูลที่เกิดขึ้นในสื่อนำสัญญาณ
สาเหตุของการแบ่งโปรโตคอลออกเป็น 7 Layer ตามมาตรฐาน OSI
ดังที่ได้ทราบกันว่าโปรโตคอลหมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่ทำงานบนระบบเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดๆ ที่จะรับส่งข้อมูลกันได้ควรจะมีการสร้างความเข้าใจต่อกันเกี่ยวกับฟอร์แมตของข้อมูลและสถานะการทำงานต่างๆ แต่เนื่องจากองค์ประกอบต่างๆ ภายในข้อกำหนดที่จะทำให้การสื่อสารระหว่างเครื่องสองเครื่องหรือมากกว่าสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี มีอยู่หลายองค์ประกอบด้วยกัน และเป็นการยากที่จะมีผู้ผลิตรายไหนที่สามารถสร้างองค์ประกอบต่างๆ ขึ้นมาได้ด้วยตนเองทั้งหมด ดังจะได้เห็นจากตัวอย่างการทำงานของแต่ละเลเยอร์ดังนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแต่ละเลเยอร์นั้นมักจะมีผู้ำชำนาญเฉพาะทางเข้ามารับผิดชอบในการผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ขึ้นมาทำงาน
+ ในระดับ Physical Layer ซึ่งเป็นระดับล่างสุดที่เกี่ยวข้องกับสายเคเบิลและการ Wiring สายโดยตรง เราก็จะต้องมีผู้ผลิตสายเคเบิลประเภทต่างๆ ขึ้นมา อย่างเช่น สายไฟเบอร์ออปติก สาย UTP CAT5, CAT5E และ CAT6 ผู้ผลิตเหล่านี้ก็อย่างเช่น AT&T, AMP เป็นต้น นอกจากนั้น เลเยอร์นี้จะกำหนดมาตรฐานในการรับส่งสัญญาณทางไฟฟ้า (electrical signal) บนสายเคเบิลนั้นๆ ด้วย เช่น ส่งด้วยการหักล้างหรืออาศัยผลต่างของสัญญาณทางไฟฟ้า (ที่ใช้ในสาย UTP) หรือส่งด้วยลำแสง (ที่ใช้ในสายไฟเบอร์) องค์กรที่กำหนดมาตรฐานดังกล่าวนี้ คือ IEEE
+ ในระดับ DataLink Layer ซึ่งเป็นระดับที่กำหนดฟอร์แมตของเฟรมว่าต้องมีฟิลด์ใดบ้าง และกำหนดอัลกอริทึมในการส่งข้อมูลไปบนสายเคเบิล ตัวอย่างของโปรโตคอลในระดับนี้ได้แก่ อัลกอริทึมแบบ CSMA/CD ที่ใช้ในเน็ตเวิร์กแบบอีเทอร์เน็ต และอัลกอริทึมแบบ Token Passing ที่ใช้ในเน็ตเวิร์กแบบ Token Ring ซึ่งอาศัยหลักการว่าใครจับโทเค็น (token) ได้ก็จะมีสิทธิในการส่งข้อมูล ผู้รับผิดชอบในเลเยอร์นี้มักได้แก่ ผู้ผลิตเน็ตเวิร์กการ์ดที่ติดตั้งไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ และผู้ผลิตอุปกรณ์เน็ตเวิร์กต่างๆ
+ ในระดับ Network/Transport โดยปกติผู้สร้างและพัฒนาระบบปฏิบัติการเครือข่ายมักจะสร้างไดรเวอร์สำหรับโปรโตคอลในเลเยอร์ Network/Transport มาให้พร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว อย่างเช่น ใน UNIX และใน Windows NT, 2000, 2003 จะมีไดรเวอร์สำหรับโปรโตคอล TCP/IP บรรจุอยู่ภายใน โปรโตคอล TCP/IP ทำงานอยู่ในเลเยอร์ Network และ Transport โดยโปรโตคอล IP ทำงานในระดับ Network Layer และโปรโตคอล TCP อยู่ในระดับ Transport Layer หรืออีกตัวอย่างหนึ่งทางบริษัทโนเวลผู้ผลิตเน็ตแวร์ก็ได้สร้างไดรเวอร์ของโปรโตคอล IPX/SPX ขึ้นมาทำงานภายในเน็ตแวร์เซิร์ฟเวอร์และเน็ตแวร์ไคลเอนต์ของตน นอกจากนั้นผู้ผลิตอุปกรณ์เน็ตเวิร์กอย่างซิสโก้ ก็ได้สร้าง "เร้าเตอร์" ขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบในการรับส่งแพ็กเก็ตในเลเยอร์ Network ระหว่างเน็ตเวิร์กต่างๆ เช่น รับส่งแพ็กเก็ต IP และแพ็กเก็ต IPX
+ ในระดับ Session/Presentation และ Application ผู้รับผิดชอบในเลเยอร์มักได้แก่ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันขึ้นมาทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยบริการขึ้นพื้นฐานในการรับส่งแพ็กเก็ตข้อมูลจากเลเยอร์ที่ต่ำกว่า
cool.gif
 
Top