เข้าใจการรับน้องระบบ SOTUS

PlAwAnSaI

Administrator


[li]หลักแรกพูดถึง Seniority "การเคารพผู้อาวุโส" ตัวผู้ปฏิบัติตีความหลักนี้อย่างไร หรือเพียงนับว่า นักศึกษาที่เข้ามาเรียนก่อน ก็คือ "ผู้อาวุโส" ที่นักศึกษาที่เข้ามาเรียนทีหลังจะต้องเคารพ หากการตีความเป็นเช่นนั้น สิ่งที่ผู้สนับสนุนมักจะยกมาอ้างว่า การเคารพผู้อาวุโสนั้นเป็นประเพณีที่ดีงามของสังคมไทย ก็จะผิดความหมายไปทันที เนื่องจากคำว่า "อาวุโส" ในสังคมไทยนั้น ไม่ได้หมายถึงเพียง "วัยวุฒิ" หรืออายุ (ทั้งอายุตัวและอายุงาน) เท่านั้น แต่ยังหมายถึงคุณความดีและการวางตัวในสังคมอีกด้วย. หากผู้ตีความหมายถึงเพียงการเข้าก่อนเข้าหลังเช่นนั้น ก็น่าจะตรงกับคำว่า Elderly (สูงวัย) ในภาษาอังกฤษมากกว่า Seniority (อาวุโส)[/li]
[li]O หมายถึง Order คือ เพื่อให้นิสิตนักศึกษารุ่นน้องเชื่อฟังคำสั่งของอาจารย์ และรุ่นพี่[/li]
[li]T หมายถึง Tradition คือ เพื่อให้มีการรักษาเฉพาะประเพณีที่ดีงาม และ เหมาะสมไว้[/li]
[li]Unity "การเป็นหนึ่งเดียว" นั้น ผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจในความเป็นหนึ่งเดียวในระดับไหน โดยความหมายทั่วไปแล้ว unity จะหมายถึงเอกภาพในระดับใหญ่ ที่อนุญาตให้มีความหลากหลาย (diversity) ในระดับปัจเจกได้, และไม่ได้มีความหมายว่า ทุกคนจะต้องทำอย่างเดียวกัน คิดอย่างเดียวกัน โดยมีความเห็นเป็นอื่นไม่ได้ บ่อยครั้งที่เราจะพบว่า ผู้นำระบบโซตัสไปปฏิบัติจะตีความหลัก Unity ว่า จะมีใครทำสิ่งที่ผิดแปลกจากผู้อื่น หรือมีความเห็นเป็นอื่นไม่ได้ หากใครทำไม่เหมือนคนอื่น ก็จะถูกกดดันจากคนส่วนใหญ่ เช่น การไม่คบหา ไม่นับเป็นพี่เป็นน้อง หรือที่เรียกกันว่า "ตัดรุ่น"[/li]
[li]S หมายถึง Spirit คือ เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรม และจริยธรรม เสียสละเพื่อส่วนรวม[/li][/list]

ระบบโซตัส ถ้าทำให้ดีและมีมาตรฐานตามที่ได้ทำกันมา คือการใส่ความกดดันเพื่อให้เกิดปััญหาระดับกลุ่มคนขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนที่เข้ามาอยู่ในกลุ่มนั้้นๆ เข้ามารวมกลุ่มกันให้แน่นขึ้น เพื่อร่วมกันเผชิญปัญหาต่างๆ ที่รุ่นพี่ตั้งขึ้น วิธีการทำระบบโซตัสนั้น ถ้าไม่มีระบบ บอกด้วยเหตุผล พูดจากันดีๆ ก็จะมีคนอยู่กลุ่มหนึ่งที่ให้ความร่วมมือ และอีกกลุ่มหนึ่งไม่ให้ อีกกลุ่มนึงลังเลอยู่ว่ากลุ่มไหนเยอะ ก็จะไปทางนั้นเมื่อเรียนด้วยกัน ก็จะแยกไปเป็นกลุ่มๆ คนทำกิจกรรมก็ทำกันไป คนจะไปเที่ยวก็เที่ยวกันไป แล้วแต่ความชอบ ก็จะมีผู้ให้ความร่วมมือน้อยลงเพราะไม่เคยร่วมกันทำอะไรมาก่อน

สรุป

ข้อดี คือทำให้คนหมู่มากนั้นรวมตัวกันได้เร็วขึ้น ทำความรู้จักกันได้มากขึ้น เรียนรู้กันได้เร็วเรียกได้ว่า ในปีเดียวนั้นทำให้ีคนรู้จักกันทั้งในด้านดี และไม่ดี เพราะต้องใช้ชีวิตที่โดนบีบคั้นมาด้วยกัน เหมือนผ่านชีวิตมาด้วยกัน ทำให้คนที่เคยเป็นเด็กต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าสู่สังคมใหม่ๆ
คนที่บอกว่าไม่เคยเจอความกดดันในสังคม ถือว่าคุณโชคดีที่ไม่ต้องเจอด้านมืดเหล่านั้น ความไม่เท่าเทียมกันของสังคม และความกดดันเหล่านั้นมีอยู่จริง

ข้อเสีย ที่เห็นมากที่สุดคือทำระบบโดยไม่เข้าใจ และตั้งใจจะมาทำโหดใส่ให้ผู้มาใหม่ให้เคารพตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่แย่มาก ทำให้ระบบเสียไปหมด และทำให้คนมองระบบโซตัสไม่ดี อยากกบอกให้อาจารย์ที่ควบคุมกิจกรรมอยู่ถ้ามีปัญหาเกิดขี้น เช่นมีรุ่นน้องที่มาเขียนว่าระบบ ไม่ดี คนทั่วไปเห็นว่าเกิดความรุนแรงขึ้น ก็ควรตรวจสอบหากเห็นว่ารุ่นพี่เริ่มไปผิดทางก็ต้องตักเตือน และห้ามปรามทันที แต่ถ้ารุ่นพี่ยังทำอยู่ในกฎ ระเบียบ ที่ได้วางไว้ ให้เค้าทำต่อไปเถอะ

สำหรับใครหลายคนอาจจะมองเห็นข้อเสียมากกว่า แต่สำหรับผม ผมจำไม่ได้ว่าผมเสียอะไรไปบ้าง
ผมอาจเสียเหงื่อ เสียความรู้สึก เสียใจ หรืออาจจะมากถึงเสียเลือด
แต่สิ่งที่ผมได้มาคือ วินัย ความอดทน ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความเป็นคน
และความเห็นอกเห็นใจที่มีต่อเพื่อนร่วมคณะ เพื่อนร่วมมหาลัย และเพื่อนร่วมโลก
เมื่อก่อนผมอาจจะเห็นแก่ตัว แต่ตอนนี้ ขึ้นรถเมล์ ผมไม่เคยนั่งทั้งๆ ที่มีผู้หญิงหรือเด็ก คนแก่ ยืนอยู่ใกล้ๆ ผมทำไม่ได้ เพราะผมมีความเป็นสุภาพบุรุษมากขึ้น
และที่สำคัญ ผมได้เพื่อน เพื่อนที่เสียเหงื่อมาด้วยกัน ทั้งชายและหญิง
ได้พี่ พี่ที่คอยดูเมื่อตอนผมเหนื่อยล้า และหมดแรง
สุดท้าย ผมมั่นใจว่า ถ้าผมมีปัญหาอะไรที่เค้าเหล่านั้นช่วยได้ เค้าจะต้องยื่นมือมาช่วยเหลือผมอย่างแน่นอน เพราะผมก็จะทำแบบเดียวกับเค้าถ้าหากเค้ามีปัญหา คนเหล่านี้ผมมีอยู่เป็นสิบคน

แล้วคุณล่ะ มีคนที่ช่วยเหลือคุณแบบจริงใจในทุกๆ โอกาสซักกี่คน หากไม่นับรวมพ่อแม่ญาติสนิท ที่ตัดกันไม่ขาด

ตอนนี้ผมว่า สิ่งที่คุณว่ามันเป็นข้อเสีย และสิ่งที่ผมเสียไปมันเทียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่ผมได้รับมา >
frown.gif
 
Top