vkado
New member
ความง่วงเป็นศัตรูที่สำคัญต่อการทำสมาธิ คอยตัดกำลังกาย กำลังใจ และกำลังปัญญา ทำให้ผู้ปฏิบัติตกอยู่ในความหนักหน่วง ฟังธรรมไม่เข้าใจ ไม่เห็นสภาวะกายใจ ไม่รู้แจ้งเห็นธรรม ยังจะทำให้อกุศลเจริญ เสียประโยชน์ตนอย่างมากจึงควรรีบแก้ไข
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่พระโมคคัลลานะ ขณะที่พระโมคคัลลานะได้ทำความเพียรนั่งโงกง่วงและ เกิดความอ่อนใจอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ
พระองค์จึงทรงแสดงวิธีแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะไว้หลายวิธีดังนี้
1. ให้นึกถึงสัญญาต่าง ๆ
2. ให้ยกจิตขึ้นพิจารณาถึงธรรมที่เคยได้ฟังได้เรียนมา
3. ให้สาธยาย คือ ท่องธรรมที่เคยได้ฟังได้เรียนมา
4. ให้เอามือยอนหู คือ ไชหูทั้ง 2 ข้าง หรือเอามือลูบตามตัว
5. ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างหน้า และเหลียวดูทิศต่าง ๆ แหงนดูดาว
6. ให้นึกถึงแสงสว่าง คิดว่าอยู่กับความสว่าง ทำใจให้เปิดเผยและเป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง
7. เดินจงกรมทำใจให้สำรวมมีจิตอยู่กับกายภายใน
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระโมคคัลลานะ ซึ่งผู้ปฏิบัติควรปฏิบัติตามด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจนกว่าจะหายง่วง
อุบายเพิ่มเติม
สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในความง่วงอยู่เสมอ แก้ไม่หาย หรือไม่หายขาด ความเพียรไม่ก้าวหน้า เพียรครั้งใดก็ง่วงนอนครั้งนั้น ถ้าไม่เพียรไม่ก้าวหน้า เพียรครั้งใดก็ง่วงนอนครั้งนั้น ถ้าไม่เพียรไม่ง่วง แต่เมื่อทำความเพียรแล้ว เกิดความง่วงก็ควรปฏิบัติดังนี้
1. สังเกตดูการบริโภคอาหารว่า การบริโภคอาหารนั้นมากน้อยเพียงไร
ถ้าความง่วงเกิดจากการบริโภคมาก ให้ผู้ปฏิบัติลดการบริโภคลง เพื่อลดการเมาอาหาร ให้บริโภคเพียงแค่มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น อย่าเห็นแก่รสอร่อยของอาหาร ถ้าหากเห็นแก่รสของอาหารก็จะทำให้การเห็นธรรมนั้นเป็นไปโดยยาก
ข้อสังเกตอีกข้อหนึ่งสำหรับเรื่องการบริโภคก็คือ หลังจากรับประทานอาหารอิ่มนั้น ผู้ปฏิบัติส่วนมากมักจะไม่สามารถทำสมาธิได้ หรือทำได้ก็ได้น้อยมาก เพราะหลังอาหารใหม่ ๆ กายจะหนักและทำให้จิตหนักตามไปด้วย จิตจะไม่ปลอดโปร่ง ดังนั้นถ้ารู้ว่า ความง่วงนี้เกิดจากการบริโภคอาหารมาก ก็ควรลดการบริโภคลง แต่อย่าให้น้อยจนถึงกับเกิดความทุกข์ ทำความเพียรไม่ได้ เพราะหมดแรง หมดกำลังที่จะทำความเพียร ควรบริโภคแต่พอดีกับความต้องการของตนเอง
2. สังเกตดูการทำความเพียรนั้น ผู้ปฏิบัติบังคับจิตมากเกินไปหรือไม่
การบังคับจิตมากเกินไป ทำให้จิตเกิดความเพลีย ผู้ปฏิบัติก็จะต้องลดหย่อนการทำความเพียร ลดการบังคับจิตลง อย่าให้ตึงเกินไป (การบังคับจิตมากจะมีผล 2 อย่างคือ ทำให้ฟุ้ง เพราะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน และถ้าไม่ฟุ้งก็ง่วง เพราะจิตเกิดความอ่อนเพลีย) ควรทำจิตให้สบาย ๆ ทำอะไรที่สบาย ๆ ไว้ก่อน อย่างพึงร้อนใจ ควรมองสิ่งที่อยู่รอบตัว มองอากาศ ที่สดใส หรือมองสิ่งที่มีสีเขียว เช่น ต้นไม้ใบหญ้า เพื่อให้จิตเกิดความสดใส กระเตื้องตื่นตัว ความง่วงประเภทนี้ส่วนมากมักจะเกิดกับผู้ชอบบริกรรมภาวนาต่าง ๆ เมื่อจิตถูกบังคับให้อยู่กับองค์บริกรรม จึงทำให้เกิดความง่วง ผู้ปฏิบัติควรเลิกบริกรรม หันมาประคองจิตอยู่ที่กายหยาบแทนโดยทำความรู้สึกตัวไปตลอดตัว หรือครั้งแรกจะทำความรู้สึกไว้ที่สะโพก ที่สัมผัสกับพื้นเบื้องล่างก่อนก็ได้ ถ้ายืนก็ทำความรู้สึกที่ฝ่าเท้า ไม่ต้องบริกรรม ทำใจให้สบายไว้ก่อน เมื่อผู้ปฏิบัติหันมาเพียรประคองตั้งจิต ทำความรู้สึกอยู่ที่กายหยาบความง่วงก็จะบรรเทาลง
3. สังเกตดูว่าจิตนั้นคิดหรือไม่ ถ้าจิตสงบมากก็ทำให้เกิดความง่วงมากได้ เพราะจิตนั้นไม่นึกคิดวิตก จึงทำให้เกิดความง่วง
ขาดสติทำให้จิตลงภวังค์ ทำให้จิตไม่รับรู้อยู่ที่กายหยาบ และไม่รู้สภาวธรรม ให้ผู้ปฏิบัติยกจิตขึ้นตั้งที่ท้ายทอย หรือที่หน้าผากอยู่เสมอ อย่าเอาจิตไว้ที่ต่ำ เช่นที่ท้อง เป็นต้น จะต้องยกจิตไว้ให้สูงอยู่เสมอ เพื่อให้จิตผ่องใสและเกิดปัญญา ควรหางานให้จิตทำอยู่เสมอ
4. ความง่วงที่เกิดจากความท้อแท้สิ้นหวัง เพราะไม่เห็นผลของการปฏิบัติทำให้เกิดความเกียจคร้าน และเป็นผลให้ง่วงนอนในที่สุด
วิธีแก้ ควรหากัลยาณมิตรที่มีความเพียรมากและเป็นที่วางใจของผู้ปฏิบัติ คือยอมให้กัลยาณมิตรผู้นี้ว่ากล่าวตักเดือนได้ เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติไม่สามารถบังคับตนเองได้ ก็ควรให้ผู้ที่มีความสามารถมากกว่าช่วยบังคับ และวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ การศึกษาค้นคว้าปฏิปทาของพระสาวกหรือพระปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ เพื่อจะทำให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติ แต่อย่ายึด
credit by sleep
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่พระโมคคัลลานะ ขณะที่พระโมคคัลลานะได้ทำความเพียรนั่งโงกง่วงและ เกิดความอ่อนใจอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ
พระองค์จึงทรงแสดงวิธีแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะไว้หลายวิธีดังนี้
1. ให้นึกถึงสัญญาต่าง ๆ
2. ให้ยกจิตขึ้นพิจารณาถึงธรรมที่เคยได้ฟังได้เรียนมา
3. ให้สาธยาย คือ ท่องธรรมที่เคยได้ฟังได้เรียนมา
4. ให้เอามือยอนหู คือ ไชหูทั้ง 2 ข้าง หรือเอามือลูบตามตัว
5. ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างหน้า และเหลียวดูทิศต่าง ๆ แหงนดูดาว
6. ให้นึกถึงแสงสว่าง คิดว่าอยู่กับความสว่าง ทำใจให้เปิดเผยและเป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง
7. เดินจงกรมทำใจให้สำรวมมีจิตอยู่กับกายภายใน
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระโมคคัลลานะ ซึ่งผู้ปฏิบัติควรปฏิบัติตามด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจนกว่าจะหายง่วง
อุบายเพิ่มเติม
สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในความง่วงอยู่เสมอ แก้ไม่หาย หรือไม่หายขาด ความเพียรไม่ก้าวหน้า เพียรครั้งใดก็ง่วงนอนครั้งนั้น ถ้าไม่เพียรไม่ก้าวหน้า เพียรครั้งใดก็ง่วงนอนครั้งนั้น ถ้าไม่เพียรไม่ง่วง แต่เมื่อทำความเพียรแล้ว เกิดความง่วงก็ควรปฏิบัติดังนี้
1. สังเกตดูการบริโภคอาหารว่า การบริโภคอาหารนั้นมากน้อยเพียงไร
ถ้าความง่วงเกิดจากการบริโภคมาก ให้ผู้ปฏิบัติลดการบริโภคลง เพื่อลดการเมาอาหาร ให้บริโภคเพียงแค่มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น อย่าเห็นแก่รสอร่อยของอาหาร ถ้าหากเห็นแก่รสของอาหารก็จะทำให้การเห็นธรรมนั้นเป็นไปโดยยาก
ข้อสังเกตอีกข้อหนึ่งสำหรับเรื่องการบริโภคก็คือ หลังจากรับประทานอาหารอิ่มนั้น ผู้ปฏิบัติส่วนมากมักจะไม่สามารถทำสมาธิได้ หรือทำได้ก็ได้น้อยมาก เพราะหลังอาหารใหม่ ๆ กายจะหนักและทำให้จิตหนักตามไปด้วย จิตจะไม่ปลอดโปร่ง ดังนั้นถ้ารู้ว่า ความง่วงนี้เกิดจากการบริโภคอาหารมาก ก็ควรลดการบริโภคลง แต่อย่าให้น้อยจนถึงกับเกิดความทุกข์ ทำความเพียรไม่ได้ เพราะหมดแรง หมดกำลังที่จะทำความเพียร ควรบริโภคแต่พอดีกับความต้องการของตนเอง
2. สังเกตดูการทำความเพียรนั้น ผู้ปฏิบัติบังคับจิตมากเกินไปหรือไม่
การบังคับจิตมากเกินไป ทำให้จิตเกิดความเพลีย ผู้ปฏิบัติก็จะต้องลดหย่อนการทำความเพียร ลดการบังคับจิตลง อย่าให้ตึงเกินไป (การบังคับจิตมากจะมีผล 2 อย่างคือ ทำให้ฟุ้ง เพราะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน และถ้าไม่ฟุ้งก็ง่วง เพราะจิตเกิดความอ่อนเพลีย) ควรทำจิตให้สบาย ๆ ทำอะไรที่สบาย ๆ ไว้ก่อน อย่างพึงร้อนใจ ควรมองสิ่งที่อยู่รอบตัว มองอากาศ ที่สดใส หรือมองสิ่งที่มีสีเขียว เช่น ต้นไม้ใบหญ้า เพื่อให้จิตเกิดความสดใส กระเตื้องตื่นตัว ความง่วงประเภทนี้ส่วนมากมักจะเกิดกับผู้ชอบบริกรรมภาวนาต่าง ๆ เมื่อจิตถูกบังคับให้อยู่กับองค์บริกรรม จึงทำให้เกิดความง่วง ผู้ปฏิบัติควรเลิกบริกรรม หันมาประคองจิตอยู่ที่กายหยาบแทนโดยทำความรู้สึกตัวไปตลอดตัว หรือครั้งแรกจะทำความรู้สึกไว้ที่สะโพก ที่สัมผัสกับพื้นเบื้องล่างก่อนก็ได้ ถ้ายืนก็ทำความรู้สึกที่ฝ่าเท้า ไม่ต้องบริกรรม ทำใจให้สบายไว้ก่อน เมื่อผู้ปฏิบัติหันมาเพียรประคองตั้งจิต ทำความรู้สึกอยู่ที่กายหยาบความง่วงก็จะบรรเทาลง
3. สังเกตดูว่าจิตนั้นคิดหรือไม่ ถ้าจิตสงบมากก็ทำให้เกิดความง่วงมากได้ เพราะจิตนั้นไม่นึกคิดวิตก จึงทำให้เกิดความง่วง
ขาดสติทำให้จิตลงภวังค์ ทำให้จิตไม่รับรู้อยู่ที่กายหยาบ และไม่รู้สภาวธรรม ให้ผู้ปฏิบัติยกจิตขึ้นตั้งที่ท้ายทอย หรือที่หน้าผากอยู่เสมอ อย่าเอาจิตไว้ที่ต่ำ เช่นที่ท้อง เป็นต้น จะต้องยกจิตไว้ให้สูงอยู่เสมอ เพื่อให้จิตผ่องใสและเกิดปัญญา ควรหางานให้จิตทำอยู่เสมอ
4. ความง่วงที่เกิดจากความท้อแท้สิ้นหวัง เพราะไม่เห็นผลของการปฏิบัติทำให้เกิดความเกียจคร้าน และเป็นผลให้ง่วงนอนในที่สุด
วิธีแก้ ควรหากัลยาณมิตรที่มีความเพียรมากและเป็นที่วางใจของผู้ปฏิบัติ คือยอมให้กัลยาณมิตรผู้นี้ว่ากล่าวตักเดือนได้ เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติไม่สามารถบังคับตนเองได้ ก็ควรให้ผู้ที่มีความสามารถมากกว่าช่วยบังคับ และวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ การศึกษาค้นคว้าปฏิปทาของพระสาวกหรือพระปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ เพื่อจะทำให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติ แต่อย่ายึด
credit by sleep