ชุมชนคนสนใจเรียนต่ออังกฤษ (Study UK Discussion Room)

echelon

New member
ใครอยากหาข้อมูลอะไรที่เกี่ยวกับการศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ก็ลองเข้าไปดูนะครับ
smile.gif


http://study-uk.pantown.com/
 

PlAwAnSaI

Administrator
ขอบคุณคับ ตอนนี้ผม สนใจและ มีเวลาเตรียมตัว

HTML:
obj=new Object;obj.clockfile="9001e-blue.swf";obj.TimeZone="ICT";obj.width=288;obj.height=18;obj.Target="2013,5,1,0,0,0";obj.Title="เหลือ";obj.Message="Go to England";obj.wmode="transparent";showClock(obj);


จัดกระเป๋าไปอังกฤษ


Code:
http://www.apexeducate.com/suitcase_uk.php



ทำความรู้จักกับ United Kingdom (UK), มุมประวัติศาสตร์อังกฤษแบบย่อๆ


Code:
http://th.wikipedia.org/wiki/สหราชอาณาจักร



ตะลุยอังกฤษนี่เป็นเรื่องราวชีวิตของหนุ่มบ้านนอกคนนึงที่ได้มีโอกาสไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2541


Code:
http://project-ile.net/intersect/uk/index.html



UK University


Code:
http://www.anglophonegroup.com/Category/University Good Guide UK.html



ทุนเรียนต่อต่างประเทศ การศึกษา ฟรี ปริญญาโท มัธยมปลาย ตรี เอก วิจัย-อบรม แนะนำที่เรียน


Code:
http://www.scholarship.in.th



The Grads are coming. สำหรับคนที่จะไปเรียนต่อนอก กระผมมีความรู้มาฝาก ก็ไม่เชิงความรู้หรอก
ตัวอย่าง Statement of Purpose

กล่าวถึงสถาบันสอนภาษาอังกฤษเพื่อทำข้อสอบ


Code:
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pongsorn&month=26-03-2007&group=1&gblog=1



สำหรับพี่เจนการเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโททางด้าน Marketing ที่มหาวิทยาลัย Kingston, London ประเทศอังกฤษ


Code:
http://www.nuienglish.com/html/p jane.html




Code:
http://dc433.4shared.com/img/1148727189/ec7116ff/dlink__2Fdownload_2Fuw0DA9Vf_3Ftsid_3D20120221-063056-f7175efb/preview.mp3



A small company specializing in helping Thai students to go to study in UK universities.


Code:
http://www.hands-onconsultants.com/thailand



Find over 3000 scholarships and 150000 courses, Watch our new film about studying


Code:
http://www.educationuk.org



ป.โท 1 ปีที่อังกฤษ ตอบคำถามยอดฮิตของคนอยากเรียนต่อ !


Code:
http://www.dek-d.com/content/studyabroad/30242/ป.โท-1-ปีที่อังกฤษ-leicester.php

bigeyes.gif
 

PlAwAnSaI

Administrator


Quote:
http://www.clickeducation.net/asp/usa.asp


มาว่ากันที่อังกฤษต่อ เสาร์/อาทิตย์ที่ผ่านมาไปเจอคอลัมน์หนังสือน่าสนใจเลยไปซื้อมาอ่านเลย แล้วก็เอามาแชร์คับ ในหนังสือยังมีอะไรอีกเยอะนะคับ


Quote:
http://issuu.com/misbook/docs/iget40


ฉันเริ่มต้นตั้งแต่หาฟืนมาเป็นเชื้อฝันด้วยตัวเองเลยล่ะ ไม่ว่าจะเห็นป้ายประกาศทุนการศึกษาตามบอร์ดมหาวิทยาลัย ตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือตามถนนหนทางที่ไหน ฉันต้องแวะเข้าไปสอบถามเอาความให้ได้ทุกครั้ง แต่ช่วงนั้นก็สับสนหลงทางอยู่เป็นปีว่าตัวเราจะเดินไปทางไหน เนื่องจากมีปริญญาโทจากเมืองไทยแล้วหนึ่งใบ จะไปต่อปริญญาเอกเลยก็กลัวสายสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับลูกศิษย์อย่างเราจะไม่แน่นปึ้กพอเสนอหัวข้อข้ามทวีปไปแล้วอาจแป้กได้ บวกกับปัญหาโลกแต่ต่อมาคือฉันควรหาทุนก่อนหรือสมัครเรียนก่อนดี แล้วทุนการศึกษาก็มีทั้งแบบให้เปล่าและต้องกลับมาทำงานชดใช้ ทั้งที่มาจากหน่วยงานของไทยเองและของต่างประเทศ ต้องบอกก่อนว่าช่วงนั้นบริษัทแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศยังไม่ผุดพราวราวกับดอกเห็ดได้ฝนอย่างทุกวันนี้ ฉันยังเห็นภาพตัวเองเดินสะเปะสะปะค้นหาสัจธรรมไปตามท้องถนนทั่วเมืองประหนึ่ง "เด็กหญิงขายไม้ขีดไฟ (The Little Match Girl)" ที่ไม่รู้จะหาความอบอุ่นมาเติมฝันให้ตัวเองได้ที่ไหน นอกจากไม้ขีดไฟเล็กๆ ในมือของตัวเองเท่านั้น
ระหว่างนั้นฉันก็ขยันขนคู่มือการลงทะเบียนเรียนสำหรับนักศึกษาใหม่ (Student Prospectus) ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในอังกฤษ อเมริกา และออสเตรเลีย เข้าบ้านมากองเรียงต่างผนังห้องนอนอยู่เนืองๆ (และแม่ก็ขยันช่วยเก็บไปชั่งกิโลขายเป็นระยะ) ทั้งที่ไปเก็บตกจากงานมหกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ และที่เขียนอีเมลไปขอมหาวิทยาลัยให้ส่งไปรษณีย์มาโดยตรง ช่วงนั้นฉันก็ทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอยู่แล้ว การจะขอทุนของมหาวิทยาลัยเลยก็เป็นเรื่องใกล้ตัวดี แถมเรียนแป๊ปเดียวเดี๋ยวก็กลับมาใช้ชีวิตสุขสบายเหมือนเดิมแล้ว แต่ไม่รู้ว่าทำไมใจฉันถึงอยากจะโบยบินไปให้ไกลและยาวนานกว่านั้น เรียกว่าทั้งดื้อทั้งซ่า อะไรยากๆ สูงๆ แล้วเนี่ย ข้าพเจ้าต้องปีนขึ้นไปสอยให้ได้ ระหว่างนั้นก็ทำงานพิเศษเดินสายสอนภาษาตามสถาบันต่างๆ เก็บเงินหยอดกระปุกเผื่อไว้ด้วย เวลาผ่านไปแรมปีฉันจึงเข้าใจว่าไม่มีใครจะให้คำตอบทุกอย่างกับฉันได้ดีเท่ากับหัวใจตัวเอง เลยตัดสินใจมุ่งไปที่ประเทศอังกฤษด้วยทุนนอกระบบมหาวิทยาลัยแบบไม่มีข้อผูกมัดเป็นคำตอบสุดท้าย
(อ้อ...ถึงแม้การไปเรียนต่อต่างประเทศครั้งแรกของฉันจริงๆ แล้วจะเริ่มที่อเมริกาก่อน แต่นั่นเป็นทุนสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยระยะสั้นแบบแทบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งถ้ามีโอกาสแล้วฉันคงจะได้กลับมาเล่าให้ฟังวันหลัง ทั้งโหดและฮาไม่แพ้ครั้งนี้แน่)
หลังจากเลือกคณะที่โดนใจสุดๆ ได้แล้ว (โดยไม่สนใจว่ามันจะตั้งอยู่บนพิกัดไหนของประเทศอังกฤษ) ฉันก็เริ่มศึกษาเอกสารประกอบการสมัครเรียนทั้งหมดที่ต้องใช้ โอ...พระเจ้าจอร์จ ฉันเหลือเวลาอีกแค่สองเดือนเท่านั้นหากต้องการยื่นใบสมัครให้ทันปีการศึกษาใหม่นี้ ว่าแล้วก็กระโจนขึ้นรถเหยียบคันเร่งมิดทะยานสู่ศูนย์บริติช เคานซิล เชียงใหม่ (British Council) เพื่อขอจองที่นั่งสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ (IELTS-International English Language Testing System) ทันที ตารางสอบที่ได้ออกมาคืออีก 3 วันข้างหน้า โอ...พระเจ้าจอร์จที่สอง ฉันกระโดดลงบันไดตึก บึ่งรถปาดหน้ายามประจำศูนย์แล้วมุ่งหน้าต่อไปยังร้านหนังสือสุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์ คว้าหนังสือเตรียมสอบ IELTS ของเคมบริดจ์มาได้ 1 เล่มอย่างเฉียดฉิว
สามวันอันตรายของฉันคืออีกสามวันที่จะต้องมานั่งคุมสอบนักศึกษาด้วย บังเอิญช่วงนั้นมหาวิทยาลัยกำหนดสอบไล่ปลายปีพอดี ถ้าใครบังเอิญผ่านมาที่ตึกแปดชั้นคณะมนุษยศาสตร์ จะเห็นอาจารย์คนหนึ่งขะมักเขม้นกับหนังสือและชีทกองพะเนินตรงหน้าอย่างเอาเป็นเอาตาย นักศึกษานั่งทำข้อสอบไป ฉันก็นั่งฝึกทำข้อสอบไป พอเสียงออดสัญญาณหมดเวลาดังขึ้นฉันก็ถอนหายใจเฮือกพร้อมนักศึกษาเหมือนกัน เพราะเมื่อก้าวพ้นประตูห้องสอบออกไปเมื่อไหร่ฉันก็ต้องวิ่งรอกกรอกคะแนนเก็บให้นักศึกษา ตรวจข้อสอบ ส่งเกรดให้คณะ และอีกจิปาถะภารกิจของชีวิตอาจารย์คนหนึ่ง
ผลสอบออกมาเป็นที่น่าพอใจทีเดียวสำหรับความบ้าระห่ำครั้งแรกของฉัน (กับ IELTS) เมื่อมีผลสอบพร้อมมือแล้วมีกระบี่พร้อมรบ ฉันไปขอจดหมายรับรอง (letter of recommendation) จากอดีตอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ที่เคารพรักมา 2 ท่าน แล้วเริ่มร่อนใบสมัครไปตามมหาวิทยาลัยที่หมายตาไว้ ขณะเดียวกันก็หว่านใบสมัครไปตามแหล่งทุนอื่นๆ ที่เปิดรับในช่วงนั้นด้วย
ฉันผ่านเข้ารอบสุดท้ายของทุนรัฐบาลอังกฤษปีนั้นมาแบบชิลๆ แต่แล้วชีวิตก็สอนบทเรียนให้ฉันรู้ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ และไม่มีอะไรแน่นอนไปกว่า "ความไม่แน่นอน" เมื่อจู่ๆ มีหลายคนทักว่าฉันคิดยังไงถึงไปขอทุนเขาเรียนวิชาวรรณคดีอเมริกันในประเทศอังกฤษ ลางสังหรณ์มันก็ร้องเตือนฉันตงิดๆ อยู่เหมือนกันแต่ก็ยังดื้อดึงดันทุรังต่อไป และผลสุดท้ายฉันก็ได้แห้วมากินลูกใหญ่ ยังไม่หมดค่ะ ระหว่างนั้นผลทุนการศึกษาในโครงการพิเศษที่ฉันสมัครหว่านเอาไว้อีก 2 มหาวิทยาลัยก็แจ้งผลกลับมา ปรากฏว่าต้องวืดกลางอากาศซ้ำสองและสามด้วยเหตุผลว่า "คะแนน IELTS ของฉันสูงเกินไป" โอ...พระเจ้าจอร์จที่สาม มันไม่น่าเชื่อใช่ไหมล่ะ ฉันก็ไม่อยากเชื่อจดหมายในมือเหมือนกัน แต่มันเป็นเหตุผลสุดอึ้งที่เกิดขึ้นจริงๆ เขาว่าฉันคงไม่ได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนั้นเพราะเขาตั้งใจจัดให้ผู้ที่ต้องการไปเรียนรู้ภาษาเพิ่มเติมด้วยมากกว่า
หลังจากทั้งกินและอาบน้ำใบบัวบกเข้าไป 3 โอ่งใหญ่ ฉันก็กลับไปตั้งหน้าตั้งตาทำงานอีกครั้ง อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิดอย่างที่แม่สอนฉัน (ร้องเพลง) ว่า "Whatever will be, will be." นั่นแหละ และตอนนี้จะมีอะไรแน่นอนไปกว่าการยังคงเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวเองเข้าไว้ ในเมื่อไปซ้ายไม่ได้ ฉันก็ต้องลองไปขวา ถ้าเขาปิดหน้าต่างฉันก็ต้องลองเปิด (งัด) ประตูเข้าไปเพราะเราเลือกเดินทางนี้แล้ว
สองเดือนต่อมาฉันได้รับจดหมายตอบรับเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษทั้ง 4 แห่งที่ฉันสมัครไป แต่ละแห่งให้ทุนมาด้วยมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ทางคณะจะจัดสรรให้ แต่คราวนี้ฉันหมดแรงจะดี๊ด๊ากับผลที่ได้แล้ว คงเหลือแต่ความสุขุมและสงบนิ่ง ความคิดต่อมาของฉันก็คือ ฉันจะเลือกตอบรับมหาวิทยาลัยไหนดี คราวนี้ถ้าจะดื้อก็ต้องดื้อต่ออย่างมีสติด้วยแล้ว
มหาวิทยาลัยแห่งที่ให้ทุนฉันเยอะที่สุดเสนอคอร์สเรียนที่ฉันสนใจมากซะด้วย แต่เอาเข้าจริงๆ พอกางแผนที่และวิเคราะห์วิถีชีวิตของชาวเมืองนั้นแล้ว ฉันคงต้องขอบายเพราะถึงจะใกล้ชิดธรรมชาติแต่ฉันก็ไม่อยากนอนเหงาตายอยู่ในหอพัก ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นๆ แม้จะอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ให้ทุนน้อยลงมาหน่อย แต่ยังไงอันดับทางด้านวิชาการก็ยังไม่สูงพอ หลังชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยที่เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมดแล้ว ผู้ชนะเลิศสำหรับฉันก็คือมหาวิทยาลัยวอริคซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโคเวนทรี ที่ (ยัง) ไม่ได้ให้ทุนนักศึกษาสักแดงเดียวแต่เป็นมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับหนึ่งในห้าของประเทศมาโดยตลอด แม้พอไปแคะเงินจากกระปุกมานับดูแล้วต้องปาดเหงื่อที่ไหลย้อยไปถึงตาตุ่ม แต่อย่างที่บอกแหละว่าคนอย่างฉันถ้าฝันจะปีนขึ้นไปแล้วต้องให้ถึงที่สุด เอาล่ะ... "Whatever will be, will be." คราวนี้ฉันก็ได้ไปตะลุยอังกฤษด้วยสมองและสองมือของตัวเองสมใจแล้ว สู้ตายค่ะ แต่เรื่องราวการเตรียมพร้อมก่อนเดินทางจะเป็นยังไง คงต้องพบกันใหม่ฉบับหน้านะคะ

หลักปลุกปั้นฝันมาแรมปี ในที่สุดฉันก็ได้จดหมายตอบรับเข้าศึกษาจากมหาวิทยาลัย (Offer Letter) อย่างเป็นทางการแล้ว ทุนรอน (ไม่พร้อมก็ต้อง) พร้อมแล้ว สุขภาพกายพร้อมแล้ว แต่สุขภาพใจนี่สิมันดันเกิดอาการหวิวๆ ขึ้นมาซะเฉยๆ
การตัดสินใจไปเรียนต่อต่างประเทศเพียงลำพังสำหรับบางคนไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่สำหรับฉันมันกำลังจะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในชีวิต ก็อย่างที่บอกว่าโปรเจ็คท์ระยะยาวนี้คิดเองอะไรเองตั้งแต่เริ่ม ออกตัวแรงแบบไม่ปรึกษาใครเลย พอตอนอยากจะได้แรงเชียร์สุดท้ายก่อนพุ่งเข้าเส้นชัย เลยไม่รู้จะไปขอจากใครดี ระหว่างนั้นโชคดีที่ได้รู้จักกับน้องชายคนหนึ่งที่เดินหลงเข้ามาในชีวิตของฉันเข้า ตั้งแต่ช่วงที่ฉันกำลังยื่นใบสมัครเรียนใหม่ๆ ด้วยความที่อ่อนเดียงสากว่า (หุๆๆ) น้องชายจึงตกกระไดพลอยโจน เข้ามาอาสาบำบัดทุกข์บำรุงสนุกให้กับฉัน นอกจากแบกเป้ กิน เที่ยว เรียน แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์กันแล้ว ไม่ว่าพี่สาวคนนี้จะเสียศูนย์เมื่อโดนทัดทานเรื่องไปเรียนต่อจากคนรอบข้างอย่างไร น้องชายคนนี้จะหยิบยื่นกำลังใจดีๆ มาเติมให้ตลอด ยิ่งวันเปิดเรียนของมหาวิทยาลัยในอังกฤษใกล้เข้ามาเท่าไหร่ ใจฉันก็ยิ่งกระเจิดกระเจิงสติแตกจนกระทั่งต้องหอบหมอนหอบเสื่อหลบนักศึกษาไปนอนเกลือกกลิ้งอยู่ริมอ่างแก้วหน้ามหาวิทยาลัย น้องชายเองก็คงเข้าใจว่าครั้งนี้ไม่ใช่แค่การต้องไปเริ่มต้นชีวิตใหม่เพียงลำพัง แต่ฉันต้องทิ้งทุกอย่างไว้ข้างหลัง รวมทั้งงานที่ฉันรักด้วย เลยได้แค่นั่งเงียบๆ ดูพี่สาวเข้าภวังค์ไปคนเดียวจนเย็นย่ำ
วันรุ่งขึ้นฉันตัดสินใจทุบหม้อข้าวตัวเอง ยื่นจดหมายลาออกจากงาน แล้วชวนน้องชายเดินทางไปสถานทูตอังกฤษด้วยกันที่กรุงเทพฯ สมัยนั้นผู้สมัครขอวีซ่าต้องยื่นเอกสารและใบสมัครด้วยตนเองที่สถานทูตซึ่งตั้งอยู่บนถนนวิทยุ ซึ่งฉันก็มายื่นไว้เรียบร้อยแล้วล่ะ แต่ลืมไปว่าอีกหนึ่งเอกสารสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการสมัครวีซ่านักเรียนคือจดหมายตอบรับจากมหาวิทยาลัย เพื่อยืนยันว่าเราจะเข้าไปศึกษาจริงๆ และมีสถาบันรองรับแล้ว ฉันเลยต้องโดนเรียกตัวกลับมาสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่อีกรอบ ตอนเข้าไปสัมภาษณ์ก็มีแอบตื่นเต้นเล็กน้อยถึงปานกลาง (ก็ดันทุบหม้อข้าวตัวเองไปแล้วนี่) แต่พอเขาเห็นจดหมายฉันแล้วก็อนุมัติวีซ่าให้ทันทีแบบไม่มีข้อกังขาอีกเลย เยส! เย็นนั้นน้องชายขอฉลองความสำเร็จให้ด้วยการเลี้ยงพิซซ่ามื้อใหญ่ แต่พี่สาวเองก็ต้องควักเงินสมทบทุนไปด้วยอีกหลายร้อย ไม่เป็นร๊าย...ไม่เป็นไรจ้ะน้องรัก
พอกลับถึงเชียงใหม่ฉันก็เริ่มเก็บข้าวของเครื่องใช้ลงกระเป๋าเดินทาง สะสมไปวันละนิดละหน่อย ทั้งหนังสือ แล็ปท็อป กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์เครื่องเขียน รองเท้า เสื้อผ้าเครื่องกันหนาวและกันฝนที่เน้นเอาความ "หนา" และ "อลังการ" เป็นหลัก ช่วงนั้นจินตนาการว่าถ้าพายุหิมะถล่ม เกาะอังกฤษจมสู่ท้องมหาสมุทร ฉันก็จะได้ตายอย่างอบอุ่นบนกองเสื้อกันหนาวเหล่านี้แหละ (ซึ่งตอนนี้ขอแนะนำนักศึกษารุ่นใหม่ๆ ว่าอย่าบ้าขนสมบัติไปให้หนักอย่างฉันเลย ยังไงๆ ไปถึงโน่นก็ต้องดั้นด้นหาซื้อใหม่อีกอยู่ดี เพราะกระแส sale กระหน่ำปีละหลายครั้งและคุณภาพสินค้าของเขามันแรงเกินต้านทานจริงๆ) อ้อ...ที่ลืมไม่ได้คืออะแด็ปเตอร์แปลงค่าไฟ (adaptor) สำหรับเครื่องไฟฟ้า ตัวละแค่ร้อยกว่าบาทเท่านั้น ฉันเลยโยนลงกระเป๋าเดินทางไปด้วยอีก 2-3 ตัวเพื่อความสะดวก รวมทั้งสมบัติอีกจิปาถะตามแต่จะนึกได้
วันเดินทางของฉันไม่มีน้ำตา มีแต่ความรักและอาวรณ์จากครอบครัว รวมทั้งน้องชายคนเดิมที่ตามมาส่งถึงสนามบินด้วย ถ้าเปรียบเป็นงานศิลปะสักชิ้น ตอนนั้นภาพสะท้อนความรู้สึกของฉันคงดูสะเปะสะปะวุ่นวาย บางมุมของผ้าใบคงเป็น abstract ที่ผูกซ่อนความคิดไว้อย่างลึกลับซับซ้อน และบางมุมคงเป็นภาพแบบ impressionist ที่ชัดเจนและนุ่มนวลชวนฝัน มันผสานกลืนเข้าหากันจนแยกไม่ออก แต่ที่แน่ๆ คือฉันจะไม่เสียใจกับการตัดสินใจครั้งนี้เลย
ทริปนี้ฉันซื้อตั๋วเครื่องบินไว้ 2 ไฟลท์ ทั้งระหว่างประเทศและภายในประเทศอังกฤษ จากกรุงเทพฯ ถึงสนามบินฮีทโธรว์ก็แค่ 10 กว่าชั่วโมง พอก้าวลงจากเครื่องบินแล้วฉันก็สาวเท้าตามฝูงชนไปสู่ด่านตรวจคนเข้าเมือง หัวใจเริ่มเต้นเป็นจังหวะร็อก แค่ผ่านจากด่านนี้ฉันก็จะไปรับกระเป๋า วิ่งไปต่อไฟลท์ภายในประเทศสู่เมืองลิเวอร์พูลซึ่งเป็นจุดหมายสุดท้ายของ ทริป แล้วฉันก็จะออกไปสูดอากาศแรกของแผ่นดินอังกฤษให้เต็มปอด
ฉันฉีกยิ้มให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่กำลังก้มมองวีซ่าของฉัน เขาเงยหน้าขึ้นมาแล้วชี้ให้ฉันเดินไปอีกห้องโถงหนึ่งเพื่อกรอกเอกสารเพิ่มก่อนจะกลับมาใหม่ เห็นผู้โดยสารหลายคนเดินตามกันมาด้วยฉันก็เริ่มอุ่นใจ แต่พอไปถึงก็ตะลึงกับคิวมหาศาลจากปากประตู เลื้อยเข้าไปถึงห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ อีกสุดห้องโถง เจ้าหน้าที่เข้ามาชี้แจงว่าทุกคนที่เดินทางเข้ามาขอพำนักในประเทศเกิน 6 เดือน ต้องรับการเอกซเรย์ปอดตรงจุดนี้ก่อน ตรงหน้าฉัน มีผู้โดยสารต่างชาตินั่งหน้าเหี่ยวรออยู่ประมาณล้านเจ็ดได้ โอว...โนว! ไม่มีคำบรรยายใดๆ ในสายตาผู้คนที่มองมายังฉันและเหยื่อรายใหม่ๆ ได้ดีกว่าคำว่า "ปลงซะ" อีกแล้ว ฉันเดินคอตกเข้าไปนั่งต่อแถวบนเก้าอี้ดนตรีที่ค่อยๆ เขยิบคิวไหลเข้าไปในห้องเอกซเรย์ด้วยความเร็ว 15 เมตร/ชั่วโมงเห็นจะได้ ก่อนจำใจบอกลาตั๋วเครื่องบินไฟลท์ต่อไปลิเวอร์พูลในมือตัวเองแล้วเก็บลงกระเป๋าอย่างถาวร
ไม่มีอะไรจะดีกว่าการปลอบใจตัวเองว่าข้อดีของการตกเครื่องบินรอบนี้คือฉันได้ออกมาสูดอากาศเมืองลอนดอนเป็นของแถมก่อนเดินทางต่อ แต่การเหยียบแผ่นดินอังกฤษเป็นครั้งแรกในชีวิตนี้ไม่ยักตราตรึงใจ หรือมีฉากชวน ดราม่า เหมือนในหนังสักนิด เพราะกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการเอกสารจนพ้นประตูสนามบินออกมาบรรยากาศข้างนอกก็สลัว คนก็สภาพย่ำแย่เต็มทีแล้ว ฉันเดินหัวฟูเข็นรถขนกระเป๋า 4 ใบ (ไม่นับที่สะพายไว้อีก 2) ออกมาถ่ายภาพซอมบี้ของตัวเองไว้เป็นที่ระลึกหนึ่งช็อต ก่อนจะตระเวนหาข้อมูลเพื่อเดินทางต่อไปยังลิเวอร์พูลอีกครั้ง เครื่องบินไฟลท์สุดท้ายก็หมดแล้ว เหลือแต่บริการรถบัสของบริษัท National Express ที่จะออกจากสนามบินตอนเกือบเที่ยงคืน หรือไม่ก็พักโรงแรม 1 คืน แล้วจองเครื่องบินเที่ยวใหม่ในวันรุ่งขึ้น พอคำนวณเวลา งบประมาณและความปลอดภัยของตัวเองดูแล้ว การนอนเฝ้าสนามบินอีก 4 ชั่วโมง แล้วนั่งรถต่ออีก 8 ชั่วโมง คงเสี่ยงน้อยกว่าการอาจโดนปล้นระหว่างเดินหาโรงแรม ยิ่งสติสัมปชัญญะของฉันตอนนี้ยิ่งไม่ค่อยเหลือด้วย แต่ถ้ารถบัสโดนไฮแจ็ก (hijack) ขึ้นมา อย่างมากก็แค่เป็นตัวประกันหมู่ละนะ อุ่นใจกว่า สรุปว่าฉันขอนั่งอึดต่อบนรถละกัน
แต่ฉันอาจจะลืมคำนวณเรื่องคุณภาพชีวิตของตัวเองไป เพราะพอรถบัสเข้ามาจอดที่ชานชาลาภายในสนามบิน บรรดาผู้โดยสารที่ตอนนี้สภาพไม่ต่างจากซอมบี้ (เหมือนฉัน) ต่างก็ลุกกรูแย่งกันขึ้นรถจ้าละหวั่น ทั้งฝรั่งทั้งแขกเลือกที่นั่งได้ก็เหวี่ยงกระเป๋า ถอดรองเท้าเพื่อระบายอากาศ (จะระบายไปไหนยะ) บางคนก็ยกขึ้นพาดเบาะ ปรับเก้าอี้ แล้วนอนหลับเป็นตาย ไม่สนใจข้าวของที่กองระเกะระกะตามทางเดิน ส่วนฉันนั่งคุดคู้อยู่ซอกหนึ่งของด้านหน้ารถ ทนกับความเย็นฉ่ำของแอร์และพนักพิงของเบาะที่ตั้งเป็นมุมฉากอย่างสวยงาม จะปวดแขนปวดขาหรือว่าปวดฉี่ก็ไม่กล้าลุกย้ายที่ หันไปมองด้านหลังรถแล้วก็อนาถใจ ถึงรถของฉันวันนั้นจะไม่ได้โดนไฮแจ็กแต่สภาพก็ไม่ต่างจากโดนระเบิดพลีชีพ ถ้าฉันลุกเดินออกไป 10 ก้าว เชื่อเลยว่า 5 ก้าวนั้นต้องเหยียบโดนหัวฝรั่งที่ยอมสละทิ้งแล้วซึ่งเกียรติลงไปนอนเกลื่อนพื้นรถแน่ๆ
การเดินทางคืนนั้นต่อด้วยแท็กซี่อีกเกือบครึ่งชั่วโมงก็ถึงบ้านป้าเจนนี่ กับลุงไบรอันซึ่งเป็นครอบครัวที่ฉันไปพักอยู่ด้วยระยะแรกก่อนเริ่มต้นภาคการศึกษา ได้ข้าวได้น้ำ มีที่พักและคนให้คำปรึกษาแล้ว ฉันก็เริ่มปรับตัวกับสถานที่ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวอังกฤษไปทีละเล็กละน้อย ได้สัมผัสแสงแดดอุ่นสุดท้ายในเมืองลิเวอร์พูลเป็นของแถมอีกหลายอาทิตย์ ก่อนเดินทางตามลำพังอีกครั้งต่อไปยังเมืองโคเวนทรี่-เมืองที่ตั้งของมหาวิทยาลัยวอริค (Warwick) แล้วชีวิตการเป็นนักศึกษาของฉันก็เริ่มต้นขึ้นพร้อมสายลมหนาว
นึกกลับไปถึงการเดินทางครั้งนั้นแล้วก็อดยิ้มไม่ได้ แม้ตอนนั้นจะยิ้มไม่ค่อยออกก็เถอะ แต่ถ้าไม่ได้พกจิตใจที่แข็งแกร่ง (หรือดันทุรัง) ไปด้วยฉันก็คงไม่มีวันนี้ ถึงมหาวิทยาลัยวอริคเองจะไม่ได้มีสถาปัตยกรรมอลังการหรืออาคารสไตล์ปราสาทแบบหลุดออกมาจากหนังเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ให้ฉันได้กรี๊ดสมกับที่ฝันไว้ แต่เมืองนี้ก็มีโบราณสถานเก่าแก่และร่องรอยประวัติศาสตร์สวยงามให้ชมมากมาย แล้วยังอยู่ใกล้กับเมืองสแตร็ทฟอร์ดอะพอนเอวอน (Stratford-Upon-Avon) ที่แสนจะน่ารัก และเป็นบ้านเกิดของเช็คสเปียร์ที่นักเรียนวรรณคดีอย่างฉันต้องยกให้เป็น "a place to die for" หรือสถานที่ซึ่งชีวิตนี้ต้องไปเยือนให้ได้ แต่เหตุผลสำคัญที่ฉันเลือกมหาวิทยาลัยนี้คือคุณภาพทางวิชาการ และประสบการณ์ชีวิตในประเทศอังกฤษ การเข้าเรียนและทำวิจัยในวิชาที่ชอบจึงสนุกพอๆ กับการเข้าชมรมและการสังสรรค์กับเพื่อนๆ ถึงวันที่ฉันเดินเข้าไปจ่ายค่าเทอมครั้งแรกจะรู้สึกใจมันหวิวๆ โหวงเหวงไปบ้าง แต่ความสนุกและความรู้จากทั้งในและนอกห้องเรียนก็ช่วยเติมเต็มพื้นที่ว่างนั้นไปทีละเล็กละน้อย ไม่นึกเหมือนกันว่าอีกหลายปีต่อมาประเทศนี้จะเป็นเสมือนบ้านหลังที่สองของฉันไปในที่สุด ตอนนี้ฉันเชื่อว่าความฝันของฉันไม่ได้สำเร็จลงเมื่อวันที่เหยียบผืนแผ่นดินนี้หรือวันที่จบการศึกษา มันไม่มีเส้นชี้วัดที่ชัดเจนบนเส้นทาง ตราบใดที่ชีวิตยังดำเนินไปเรื่อยๆ เพราะโลกแห่งความฝันของฉันมันกลายเป็นโลกแห่งความจริงไปแล้ว
สำหรับใครที่กำลังคิดจะลุยเดี่ยวแบบฉันละก็ ไม่ใช่เรื่องยากหรอก ขอแค่ให้เรามีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจน เชื่อมั่นในตัวเอง สามารถยอมรับและจัดการกับความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นบนเส้นทางนั้นได้ด้วยตัวเอง ที่สำคัญอีกอย่างคือการเตรียมพร้อม ฉันเองไม่ได้แค่ฟิตความพร้อมทั้งกายและใจ แต่พร้อมไปถึงการคาดคะเนและเตรียมรับมือกับอนาคต อย่างงาน Warwick Grand Thai Night ที่กลุ่มนักศึกษาไทยจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมให้กับบุคลากรมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป ก่อนวันงานทีมนักศึกษาต้องวิ่งหาซื้อหยิบยืมชุดประจำชาติกันจ้าละหวั่น ส่วนฉันโผล่เข้ามาร่วมทีมทีหลังแต่หาชุดและแอ็คเซ็สเซอรี่ได้ไวปานพายุ รุ่นน้องที่ชักชวนฉันมาแอบกระซิบถามว่าพี่ไปเอาชุดมาจากไหน ฉันตอบอย่างภูมิใจ "พี่ขนมาเองจากเมืองไทยเลยน้อง"
โห… สายตารุ่นน้องมันฟ้องว่าพวกเธอทึ่งและอึ้งมาก ฉันได้แต่อมยิ้ม นี่ยังไม่นับชุดกี่เพ้าสำหรับวันตรุษจีนในกระเป๋าเดินทางด้วยนะ ก็ฝันดีๆ อย่างนี้ไม่ได้มีบ่อยนี่คะ ต้องจัดเต็มค่ะ
bigeyes.gif
 

echelon

New member


Quote:

นึกว่ายูเครน แล้วเมกามีมั้ย




ยูเครนนี่ไม่ค่อยได้ยินเลยแฮะ แต่ไม่รู้ว่าระบบการศึกษาจะเหมือนรัสเซียรึปล่าว เคยดูสารคดีของ ดร. นิติภูมิ ตอนที่ถ่ายช่วงสอบ Defence วิทยานิพนธ์ของ ม. แห่งหนึ่งในรัสเซียแล้วสยองพิลึก เพราะสอบกันโหดเหลือเกิน

ส่วนอเมริกานี่ ขอให้เตรียมใจไว้อย่างนึงเลยว่า วีซ่าจะได้ยากกว่ามาก เพราะอเมริกาเจอปัญหาเรื่องคนต่างชาติลักลอบเข้าประเทศกันเยอะมาก และหลายคนก็ใช้วีซ่านักศึกษาเป็นช่องทางด้วย (ทำเป็นสมัครเรียน แต่จริงๆ คือเข้าไปอยู่ยาวแล้วไม่ยอมกลับประเทศ) และเรื่องการเลือก ม. ที่จะศึกษาต่อนั้น ถ้า ม. ไหนดี ก็จะดีเลิศสุดๆ (แบบพวก Harvard, MIT, หรือ Stanford) แต่ถ้า ม. ไหนห่วย ก็จะห่วยแบบสุดกู่เลยเหมือนกัน ไม่ว่าจะด้านคุณภาพการศึกษา และสภาพแวดล้อมโดยรอบ เวลาเลือกก็ต้องหาข้อมูลดีๆ หน่อยก็แล้วกัน

ส่วนกรณีเรียนภาษา ก็ต้องเลือกดูดีๆ ด้วยนะว่า มีสถาบันใดได้รับการรับรองบ้าง เพราะที่ผ่านมามีข่าวเรื่องสถาบันภาษาที่ไม่ผ่านการรับรองอยู่บ่อยๆ หรือไม่ก็เป็นประเภทที่ว่า เข้าเรียนหรือไม่เข้าเรียนก็ได้ ซึ่งพวกลักลอบเข้าประเทศโดยใช้วีซ่านักศึกษา ก็จะสมัครผ่านโรงเรียนพวกนี้แหละ เวลาโดนเจ้าหน้าที่จับเราก็จะตกกระไดพลอยโจนไปด้วย (อันนี้ผมรวมถึงประเทศอื่นๆ ด้วยนะ)

และขอย้ำอีกครั้งนะว่า ถ้าไปเรียนที่อเมริกาแล้ว ตามกฎหมายเขาจะไม่ให้ทำงานพิเศษนะ (ยกเว้นไปในโครงการพวก Work & Travel หรือเป็นงานพิเศษใน ม. ที่ทาง ม. รับรอง) ถ้ามีใครมาเล่าให้ฟังว่า ไปเรียนที่อเมริกาแล้วได้ทำงานพิเศษด้วย (โดยเฉพาะตามร้านอาหาร) ขอให้รู้ไว้เลยว่า [size=10pt]"คนนั้นแอบทำครับ"[/size]

PS. ที่พูดมานี่ ไม่ใช่กล่าวให้ร้ายอะไรหรอกนะ แต่มันเป็นแบบนั้นจริงๆ เพราะคนต่างชาติรุ่นก่อนหน้าไปสร้างวีรกรรมเอาไว้เยอะ คนรุ่นหลังก็เลยต้องมารับกรรมแทนแบบนี้แหละ แถมตอนนี้ ที่อังกฤษก็จะเปลี่ยนกฎการออกวีซ่าอีกแล้วด้วย แต่ยังไม่แน่นอนว่าจะเปลี่ยนยังไงนะ
 

bancream

New member
ผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษยังไม่ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยตั้งไว้ จึงต้องเรียนปรับภาษาเพื่อเข้าเรียนต่อหลังจบหลักสูตร การไปเรียนต่อประเทศอังกฤษ จะได้ฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องการขอวีซ่าประเทศอังกฤษไม่ได้ยากนัก ประเทศอังกฤษยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาในสาขาชั้นนำ หลายคนเองก็มักที่จะวางแผนมาเรียนต่ออังกฤษ ในระดับปริญญาโทในหลายสาขา นอกจากนั้น University เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจในการเรียนต่อประเทศอังกฤษที่นี่อีกด้วย เราเป็นผู้วางแผนการเรียนต่อประเทศอังกฤษ และช่วยเหลือในการติดต่อสถาบันการศึกษาทุกแห่งในระดับมัธยมศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนมัธยม

หลักสูตรที่ถูกสร้างขึ้นตามโครงสร้างของการเรียนชั้นปีที่ 1-2 ของมหาวิทยาลัยทำให้นักเรียนสามารถเรียนต่ออังกฤษปีที่ 3-4 ในมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้ การเลือกอังกฤษเป็นจุดหมายปลายทางการเรียนต่ออังกฤษ ถือว่าเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่และมีหลายสิ่งที่คุณจะต้องพิจารณาก่อนจะตัดสินใจแน่นอน ถ้าเกิดคุณกำลังกังวลว่าศึกษาต่อประเทศนอกในที่แห่งใดจะต้องคิดถึงเรื่องเรียนต่ออังกฤษ เพราะอยู่ที่อังกฤษมีแต่สิ่งใหม่ ๆ โรงเรียนดีมีคุณภาพพร้อมกับคุณภาพชีวิตในเมืองใหญ่ไม่แพ้ London รวมถึงนักเรียนที่สนใจเรียนต่ออังกฤษปริญญาตรีหรือโท นักเรียนที่เข้ามาเรียนต่อประเทศอังกฤษ นอกจากจะได้รับความรู้ทางวิชาการที่มีคุณภาพแล้ว ยังจะได้รับประสบการณ์จากกิจกรรมที่พิเศษ

การเรียนภาษาเพื่อใช้สื่อสาร ผู้เรียนสามารถเลือกระยะเวลาเรียนและจำนวนชั่วโมงในการเรียนต่อประเทศอังกฤษสัปดาห์ได้ตามต้องการ การเรียนต่ออังกฤษในระดับปริญญาโทที่ประเทศอังกฤษเป็นระบบเข้าเรียนในห้องเรียน ใช้เวลาเรียนเพียง 1 ปีเท่านั้น สามารถปรับตัวและปรับพื้นฐานการเรียนให้เข้ากับระบบมหาวิทยาลัยของอังกฤษได้ง่ายขึ้นก่อนเข้าเรียนต่อประเทศอังกฤษในระดับชั้นปีที่ 3-4 โดยไม่เสียเวลา
 
Top