ไทยศึกษา

PlAwAnSaI

Administrator
ศึกษาวิชาไว้ ก็จะได้ประโยชน์ครัน
เพื่อช่วยประเทศพลัน จิตเราก็เปรมปรีดิ์
ความรู้ประโยชน์พร้อม เพราะถนอมสกนธ์ศรี
การเรียนจะให้ดี ผลเด่นขยันจง
ช่วยชาติและตนยัง จะประทังสกุลวงศ์
ไทยเราจะยืนยง เพราะประชาระลึกเรียน


(สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2514 ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา)


อันอำนาจใดใดในโลกนี้ ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา
สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา ขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มี


(หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ประพันธ์)


พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย


[li]สภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และปัจเจกบุคคล เป็นกลุ่มปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ และพฤติกรรมของมนุษย์แต่ละสมัยในแต่ละสังคมที่ส่งผลต่อเนื่องถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ด้วย[/li]
[li]กลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่เหมือนกัน มีความเป็นอยู่ต่างกันเพราะ เทคโนโลยี[/li]
[li]แนวพรมแดน เป็นสภาพทำเลที่ตั้งของไทยที่ก่อให้เกิดผลเสีย[/li]
[li]สภาพทำเลที่ตั้งของไทย เกื้อให้เกิด ชุมทางการค้า เป็นการค้าของภูมิภาค[/li]
[li]การที่ไทยเป็นดินแดนเปิด กึ่งกลางแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อให้เกิด การแปลกแยกทางวัฒนธรรม[/li]
[li]การมีชนเผ่ามาตั้งถิ่นฐานในไทย จนเกิดผสมผสานเผ่าพันธุ์นั้นเกิดจาก ที่ราบอุดมสมบูรณ์มาก[/li]
[li]การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ในยุคหินใหม่ค้นพบ[/li]
[li]การเริ่มต้น ของยุคโลหะในวิถีชีวิตของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับ สำริด[/li]
[li]สำริดที่เก่าที่สุดในไทยอยู่ที่ บ้านเชียง[/li]
[li]การดำรงอยู่ของแคว้นต่างๆ ในช่วงเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ไทยขึ้นอยู่กับ การค้า[/li]
[li]ระบบการปกครอง ของไทยช่วงเริ่มประวัติศาสตร์ มีความสัมพันธ์กับ อินเดีย[/li]
[li]อยุธยาได้การสนับสนุนด้านกำลังทหารจาก สุพรรณภูมิ[/li]
[li]แคว้นทวารวดีในไทย ช่วงศตวรรษ 12-16 มีความสัมพันธ์กับ ลาว[/li]
[li]เมืองศรีมโหสถ เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีเมืองหนึ่ง[/li]
[li]พระธรรมจักรศิลากับกวางหมอบ อยู่ในสมัยทวารวดี[/li]
[li]อาณาจักรอยุธยาเกิดขึ้นในปี 1893 ได้รับมรดกทางวัฒนธรรมจาก ละโว้[/li]
[li]ลำพูน เป็นเมืองหลวงของ หริภุญชัย ในช่วงศตวรรษ 14-19[/li]
[li]ลำปาง เป็นเมืองที่สำคัญที่คู่กับเมืองหลวงของหริภุญชัย[/li]
[li]แคว้นโตรบูรในอีสานของไทย สอดคล้องกับ พระธาตุพนม[/li]
[li]แคว้นโตรบูร มี แม่น้ำโขง ครอบคลุม[/li]
[li]เมืองพระรถ เป็นเมืองโบราณ สมัยทวารวดีเมืองหนึ่ง[/li]
[li]ตานหม่าลิ่ง หรือ ตานหลิ่วเหมย เป็นชื่อเอกสารจีน ที่หมายถึง แคว้นตามพรลิงค์[/li]
[li]การปกครองจตุสดมภ์ เกิดขึ้นใน สมัยอยุธยา[/li]
[li]ระบบไพร่ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย[/li]
[li]ไทยกู้บ้านเมืองได้ในสมัย ธนบุรี[/li]
[li]สมัยธนบุรี ไทยทำสงครามกับ พม่า[/li]
[li]การปฏิรูป ร.5 ทำให้เกิด กระทรวง[/li]
[li]รัฐชาติ เป็นผลสำคัญยิ่งจากการปฏิรูป ร.5[/li]
[li]ภูมิศาสตร์ในด้านทำเลที่ตั้งมีผลต่อประเทศไทย 3 ประการ
[/list]


[li]เป็นดินแดนสมบูรณ์[/li]
[li]เปิดกว้างต่อการรับวัฒนธรรม[/li]
[li]เป็นดินแดนเปิด[/li][/list]
[/li]
[li]ปัจเจกบุคคล เช่น สติปัญญาความรู้ เป็นปัจจัยเล็กที่สุด แต่อยู่ใกล้กับพฤติกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์มากที่สุด[/li]
[li]ยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ยุคที่ยังมิได้คิดประดิษฐ์อักษรในการบันทึกเรื่องราว แบ่งเป็น 2 ยุค คือ


[li]ยุคหิน แบ่งเป็น 3 ช่วง
[/list]


[li]หินเก่า กะเทาะหินหยาบๆ ด้านเดียว[/li]
[li]หินกลาง คมขึ้นทั้งสองด้าน มีพิธีกรรมฝังศพ[/li]
[li]หินใหม่ รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ อยู่เป็นหลักแหล่ง[/li][/list]
[/li]
[li]ยุคโลหะ


[li]สำริด : ดีบุก+ทองแดง[/li]
[li]เหล็ก[/li][/list]
[/li][/li]
การพัฒนา การปกครองไทย


[li]การศึกษาเรื่องราวการปกครองในอดีต เป็นวิธีการทางประวัติศาสตร์ ที่นำมาใช้ในการศึกษา[/li]
[li]โครงสร้างทางสังคม ที่ใช้ในการพัฒนาการปกครองมี 2 ส่วน
[/list]


[li]ความเชื่อความคิด[/li]
[li]ความสัมพันธ์[/li][/list]
[/li]
[li]การศึกษาเรื่องราวการปกครองในอดีต เป็นจุดมุ่งหมาย ของวิธีการทางประวัติศาสตร์[/li]
[li]ปัจจัยด้านสังคมการเมืองภายใน ประกอบด้วย โครงสร้างทางสังคม กับ การเมือง[/li]
[li]โลกาภิวัตน์ เป็นปัจจัยด้านสังคมการเมืองภายนอกจำพวก กระแสการเมืองและสังคมระหว่างประเทศ[/li]
[li]ความใกล้ชิดแบบเครือญาติ เป็นลักษณะสำคัญ ของการปกครองแบบพ่อปกครองลูก[/li]
[li]ความแตกต่างของการปกครองสมัยอยุธยากับสุโขทัย


[li]รูปแบบการปกครอง[/li]
[li]วิธีการ[/li]
[li]ความสัมพันธ์[/li][/list]
[/li]
[li]วิธีการปกครองกษัตริย์อยุธยา เป็นแบบ แข็งกร้าว[/li]
[li]การรับเอามาซึ่งความเป็นฝรั่งมีในสมัย ร.4 กรุงรัตนโกสินทร์ และ พระนารายณ์มหาราช[/li]
[li]การตั้งกระทรวง ทบวง กรม เป็นระบบราชการแบบตะวันตกใน ร.5[/li]
[li]การตั้งมณฑลเทศาภิบาล เป็นการปฏิรูปการปกครองหัวเมือง ของ ร.5[/li]
[li]หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นผู้นำพลเรือน ของคณะราษฎร[/li]
[li]ผู้นำของคณะราษฎรส่วนใหญ่เป็น ผู้นำในระบบราชการ[/li]
[li]พระยาพหล หลวงประดิษฐ์ หลวงพิบูล และพระยาทรงสุรเดช อยู่ในคณะราษฎร[/li]
[li]อมาตยาธิปไตย เป็นการปกครองที่ คณะราษฎรมีอำนาจสูงสุด[/li]
[li]จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้ ระบบ การโอบอุ้มอุปถัมภ์[/li]
[li]จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้ ความเข้มแข็งเด็ดขาด เสริมสร้างบารมี[/li]
[li]ภายใต้ระบอบสฤษดิ์-ถนอม ระบบการเมือง พัฒนาช้า[/li]
[li]ต่อต้านเผด็จการ เรียกร้องประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ เป็นกระแสสำคัญ ของจอมพลถนอม กิตติขจร[/li]
[li]ปัญญาชน เป็นกลุ่มคนที่โค่นล้มเผด็จการทหาร 14 ตุลา[/li]
[li]หลัง 14 ตุลา กลุ่ม ปัญญาชนและนักธุรกิจ ได้เข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง[/li]
[li]รัฐธรรมนูญ 2521 เป็นรัฐธรรมนูญแบบ ประชาธิปไตยครึ่งใบ[/li]
[li]ที่เรียกประชาธิปไตยครึ่งใบ เพราะ ให้อำนาจข้าราชการต่างๆ กับนักการเมือง[/li]
[li]ร.ส.ช. ย่อมาจาก คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ[/li]
[li]พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ เป็น หัวหน้า ร.ส.ช.[/li]
[li]หาก ป.ป.ป. จับได้ว่าคอรัปชั่น ต้องนำตัวขึ้นศาล ฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง[/li]
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย


[li]ระบบเศรษฐกิจไทย ก่อนลงนาม สนธิสัญญาบาวริ่ง เป็นแบบ ยังชีพและการค้าระหว่างประเทศในขอบเขต[/li]
[li]สนธิสัญญาบาวริ่งไทยทำกับ สหราชอาณาจักร[/li]
[li]ผลกระทบของบาวริ่ง ก่อให้เกิดการผูกขาดทางการค้า[/li]
[li]ที่ราบภาคกลาง กรุงเทพ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่สำคัญจากการลงนามบาวริ่ง[/li]
[li]การพัฒนาระบบขนส่ง สร้างทางรถยนต์ ขุดคลอง เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวการผลิตข้าว[/li]
[li]ผลกระทบ เศรษฐกิจตกต่ำปี 2470 ทำให้ มูลค่าการส่งออกข้าวลดลง[/li]
[li]สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ รายได้ที่แท้จริงราชการลดลง[/li]
[li]ธนาคารโลก เป็นหน่วยงานที่ชี้ให้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ทุนนิยม เน้นเอกชน[/li]
[li]ลักษณะของ เศรษฐกิจแบบยังชีพ อยู่ ก่อนปี 2398[/li]
[li]ลงทุนสิ่งก่อสร้างพื้นฐาน เป็นวัตถุประสงค์ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ 1-2[/li]
[li]แผนที่ 8 คน เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา[/li]
[li]แผน 9 ใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง[/li]
[li]การเปลี่ยนเกษตรเป็นอุตสาหกรรม เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตการค้าของไทยในระยะ 4 ทศวรรษ[/li]
[li]การเปิดเสรีทางการเงิน เป็นสาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ปี 2540[/li]
[li]ผลกระทบของวิกฤต ปี 2540 ทำให้ การว่างงานเพิ่มขึ้น[/li]
[li]สาระสำคัญของหลักการเศรษฐกิจพอเพียง
[/list]


[li]ทางสายกลาง[/li]
[li]พอประมาณ[/li]
[li]ชุมชนเข้มแข็ง[/li][/list]
[/li]
พัฒนาการสังคมไทย


[li]ขุนนาง สมัยจารีต ไม่มี การสืบสกุล[/li]
[li]เจ้านาย สมัยจารีต เป็น มูลนาย สกุลยศ อิสริยยศ ทรงกรม แต่ไม่มี สืบตำแหน่ง[/li]
[li]พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เป็นคนชาติ จีน[/li]
[li]การจัดระเบียบมีความสำคัญมากต่อ แรงงาน[/li]
[li]แรงงาน เป็นการควบคุมกำลังคน ของการจัดระเบียบสังคมไทย สมัยจารีต[/li]
[li]ไพร่ในสังกัด ไพร่สม ขึ้นกับกรมเจ้า[/li]
[li]ไพร่หลวง เป็นไพร่ในสังกัดกรมกอง ต่างมีขุนนางบริหารบังคับบัญชา[/li]
[li]ไพร่มีศักดินา 25 หมายความว่า ถือครองที่ดินไม่เกิน 25 ไร่[/li]
[li]กษัตริย์ ควบคุมความสัมพันธ์อุปถัมภ์ ในสมัยจารีต[/li]
[li]สมัยจารีตมีลักษณะความสัมพันธ์แบบ อุปถัมภ์[/li]
[li]พระสงฆ์ เป็นคนกลางเชื่อมโยงกลุ่มคนต่างๆ[/li]
[li]ปรับใหมตามศักดิ์ อยู่ใน ระบบศักดินา[/li]
[li]การถือครองที่ดินจะมากน้อยขึ้นอยู่กับ ศักดินา[/li]
[li]การที่ ไพร่ชอบร้องขอให้ปฏิรูป เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปฏิรูป ร.5[/li]
[li]การปรับปรุงบ้านเมือง สมัย ร.5 ทำให้เกิด การยกเลิกระบบไพร่[/li]
[li]สภาพการณ์ของสังคมไทยสมัยใหม่จะสอดคล้องกับแนวคิดของ ชนชั้นนำมีอำนาจ[/li]
[li]โดยทั่วไปชนชั้นสูงในแต่ละสังคมมักเป็นแบบ อนุรักษ์นิยม[/li]
[li]ชนชั้นกลาง ต้องการการเปลี่ยนแปลง พัฒนาสังคม[/li]
[li]การเปิดโอกาสด้าน การศึกษา ในสังคม ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ทางสังคม[/li]
[li]สังคมไทยสมัยใหม่เลื่อนฐานะทางสังคม มีสภาพ เปิดกว้างขึ้น[/li]
[li]บ้าน หรือ หมู่บ้านสมัยจารีต เป็นแบบ พึ่งตนเองได้ มีอิสระ[/li]
[li]เมือง สื่อถึง สังคมเหนือหมู่บ้าน จนถึงประเทศ[/li]
[li]พลังผลักดันของทุนนิยม เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้สังคมชนบทล่มสลาย[/li]
[li]การพัฒนาชนบทไทย ตั้งแต่แผนที่ 5 ได้พัฒนาเรื่อง ความจำเป็นพื้นฐาน[/li][/list]

เทคโนโลยีไทย


[li]ภูมิปัญญา หมายถึง การใช้ประโยชน์จากธรรมชาติตอบสนองความต้องการของมนุษย์[/li]
[li]การคิดค้นเพื่อใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เป็นลักษณะเด่นของภูมิปัญญา[/li]
[li]วิทยาศาสตร์ หมายถึง สามารถพิสูจน์ความจริงตามสมมติฐานได้[/li]
[li]ธรรมชาติวิทยา เป็น การสร้างสรรค์ความรู้จากธรรมชาติจนอธิบายปรากฏการณ์ได้[/li]
[li]ธรรมชาติวิทยา ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ได้มากเท่า วิทยาศาสตร์ได้[/li]
[li]ธรรมชาติมีผลต่อการดำเนินชีวิตมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด[/li]
[li]แหล่งโบราณคดี จ.กาญจนบุรี จะพบ ขวานหินขัด[/li]
[li]สภาพพื้นที่ลาดชัน ห่างแม่น้ำ จะมีปัญหา ขาดแคลนน้ำเพาะปลูก มากที่สุด[/li]
[li]การจัดทำระบบชลประทาน เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพาะปลูก[/li]
[li]การประดิษฐ์เกรินบันไดนาค เป็นเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาไทย[/li]
[li]การผลิตเครื่องปั้นดินเผา เป็นเทคโนโลยี ที่พัฒนาต่อเนื่องในไทยตั้งแต่ สมัยจารีต ถึงปัจจุบัน[/li]
[li]การหล่อปืนใหญ่ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยี ที่นำมาประยุกต์ใช้ในสมัยจารีต[/li]
[li]การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เป็นเทคโนโลยียุควิทยาศาสตร์ที่เข้าสู่ไทยอันดับแรก[/li]
[li]การทำเครื่องจักสาน เป็นเทคโนโลยีระดับพื้นฐาน[/li]
[li]ภูมิปัญญาการถนอมอาหารสัมพันธ์กับ การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน[/li]
[li]น.พ. แดน บรีช แบรดลี่ย์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่เทคโนโลยีแพทย์ สมัยรัตนโกสินทร์[/li]
[li]การวางผังเมืองสมัยลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์ฯ รับอิทธิพลมาจาก ฝรั่งเศส[/li]
[li]วิธีการสาธารณูปโภคเปลี่ยนแปลงมากในสมัย พระจอมเกล้าฯ ร.4[/li]
[li]สังคมไทยปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเพราะ ขาดความรู้การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์[/li]
[li]การหล่อโลหะไทย สัมพันธ์กับศิลปะแขนง การหล่อพระพุทธรูป มากที่สุด[/li]
[li]ภูมิปัญญาไทยถูกละเลย หยุดการพัฒนา เป็นผลกระทบจากการรับเทคโนโลยีใหม่เข้ามา[/li]
[li]การรับเทคโนโลยีมาผสมผสานของตนให้เป็นเอกลักษณ์ได้ เป็นแนวคิดการใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด[/li]
[li]เทคโนโลยีการเกษตร เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานการดำรงชีพ[/li]
[li]การทำนาทำให้เกิดเทคโนโลยีด้าน การชลประทาน[/li]
[li]ขมิ้นชันแคปซูลแก้โรคกระเพาะอาหาร จัดเป็นพลวัต ของสมุนไพรไทย[/li]
[li]การหล่อโลหะสำริดสัมพันธ์กับ เทคโนโลยีโลหะวิทยา และเทคโนโลยีความร้อน[/li][/list]

ความเชื่อและศาสนากับสังคมไทย


[li]มนุษย์รับถ่ายทอดมา สร้างสรรค์ เกิดอารยธรรม เป็นความสำคัญในแง่วัฒนธรรม ของความเชื่อและศาสนา[/li]
[li]ศาสนา เป็น สถาบันทางความเชื่อในสังคม เช่น คำสอน บุคลากร พิธีกรรม[/li]
[li]จักรวาลวิทยา เป็นการกำเนิดความเป็นไปของโลก ที่โยงถึงศีลธรรม จริยธรรม[/li]
[li]ความเชื่อทางศาสนาเรื่อง ปรัมปราคติ อธิบายถึง กำเนิดเทพเจ้า สรรพสิ่ง ปรากฏการณ์ธรรมชาติ[/li]
[li]ศาสนากับสังคม มีอิทธิพลต่อ สถาบันสังคม การเมือง เศรษฐกิจ[/li]
[li]เทพารักษ์ ผีบ้านผีเรือน แม่โพสพ ร.5 ไม่ใช่ พระโพธิสัตว์ เป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย[/li]
[li]ความเชื่อดั้งเดิม ของพราหมณ์และพุทธเห็นได้จาก พิธีกรรม[/li]
[li]คนไทยนับถือศาสนาพุทธ เป็นศีลธรรม เป็นที่พึ่งในยามยาก[/li]
[li]ความเชื่อและศาสนาไม่ตอบสนองในเรื่อง วิถีหรือกฎธรรมชาติ[/li]
[li]บทบาททางศาสนาในอดีต ชัดเจนในเรื่อง การแต่งวรรณคดีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสดา[/li]
[li]ความเชื่อและศาสนามีอิทธิพลต่อการปกครองแต่มีเงื่อนไขต้อง ใช้ศาสนากำกับชีวิต เป็นที่พึ่งได้[/li]
[li]ศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาที่เข้ามาหลัง ศาสนาพุทธ มีบทบาทการศึกษามาก[/li]
[li]การสร้างความเชื่อใหม่โดยยังอิงกับหลักศาสนาเดิม เป็นความเชื่อและศาสนา กระแสใหม่[/li][/list]

ภาษาและวิถีชีวิตในสังคมไทย


[li]ภาษามีความสอดคล้องที่สุดกับ ระบบการสื่อสาร[/li]
[li]เสียง เป็นสื่อหลักที่สำคัญใน ภาษา[/li]
[li]การเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ในแต่ละสังคมเกี่ยวพันธ์กับ ภาษาเขียน[/li]
[li]ภาษามีอำนาจ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์[/li]
[li]ภาษาไทยมีลักษณะเด่นในเรื่อง การเรียงกริยาซ้อนติดกันได้[/li]
[li]ภาษาไทยมีคำหลักอยู่ประมาณ 4 ชนิด[/li]
[li]ภาษาถิ่นในไทยต่างกันในเรื่องของ สำเนียง[/li]
[li]มนุษย์ที่สามารถสืบทอดสังคมได้เพราะมี ภาษาเขียน[/li]
[li]คำว่า ภาษาสังคม สื่อให้เห็นถึง ความต่างกัน[/li]
[li]การมีลำดับชนชั้น เป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้ภาษาไทย มี ระดับภาษา[/li]
[li]เรื่องของ ราชาศัพท์ สะท้อนถึง ระดับภาษา[/li]
[li]ราชาศัพท์ไทย ได้รับจากภาษา เขมร มาก[/li]
[li]ฉายแสง เป็นศัพท์เฉพาะในกลุ่ม แพทย์[/li]
[li]เรสซิเดนท์ เป็นศัพท์เฉพาะในกลุ่ม แพทย์[/li]
[li]เปิดปุ๊ปติดปั๊บ เป็นสำนวนที่ได้จาก ภาษาโฆษณา[/li]
[li]กลิ่นสะอาด เป็นสำนวนที่ได้จาก ภาษาโฆษณา[/li]
[li]ภาษาของมนุษย์มักเปลี่ยนไปตาม สังคม[/li]
[li]อิทธิพลจากภาษาอื่น เห็นได้จากคำว่า ร่วง เดิมหมายถึง รุ่งเรือง แต่ได้ยืมคำจากจีน เลยแปลเป็น หล่น[/li]
[li]การเปลี่ยนแปลง เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทยเกิดขึ้นง่ายที่สุด[/li]
[li]ในสังคม การศึกษาจะกว้างขวางเกิดจาก การอ่านออกเขียนได้[/li]
[li]ภาษาไทยวิบัติในเรื่อง การใช้คำบุพบท ลักษณะนาม สับที่คำขยาย คำเชื่อม[/li]
[li]ภาษาไทยจะไม่วิบัติ ถ้าเราใส่ใจ เป็นสำนวนที่ได้จาก ระเบียบภาษา[/li][/list]

ประเพณี พิธีกรรมไทย


[li]ประเพณี หมายถึง สิ่งที่สังคมนิยมกำหนดเป็นแบบแผนยึดถือกันมา[/li]
[li]พิธีกรรม ทำให้เกิดความสบายใจ มีขวัญกำลังใจที่ดี[/li]
[li]สมัยก่อน การคลุมถุงชน เป็นประเพณีแบบ ปรัมปรา[/li]
[li]การปลุกเสกวัตถุมงคลโดยอาจารย์ดัง เป็นประเพณี พิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อดั้งเดิม[/li]
[li]การทำศพ 7 วัน เป็นประเพณี ที่มีบทบาทสาระของชีวิต สถานภาพของบุคคล[/li]
[li]ประเพณี พิธีกรรมทางศาสนา เป็นการแสดงถึงความเคารพศรัทธา บำรุงศาสนา[/li]
[li]พิธีกรรมศีลล้างบาป เกี่ยวข้องกับ เด็กเกิดใหม่[/li]
[li]แห่นางแมว เป็นประเพณี ที่ร่วมกันแก้ปัญหา รับรู้ปัญหาร่วมกัน เกิดเห็นใจกัน สามัคคีกัน[/li]
[li]พิธีกรรมรักษาโรค เป็นพิธีช่วยคลายเครียด วิตกกังวล และมีผลต่อร่างกาย[/li]
[li]สภาพภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดพิธีกรรม ในการประกอบอาชีพทำนา[/li]
[li]การตรวจราชการแผ่นดิน, ถวายความเคารพกษัตริย์ เป็นประเพณีที่เปลี่ยนแปลง โดยอิทธิพลตะวันตก[/li]
[li]การลดทอนประเพณี ที่เคยเต็มรูปแบบ เพราะ สภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย จึงเน้นแต่แก่นแท้[/li]
[li]การบังสุกุล เป็น การระลึกถึงผู้ตาย[/li]
[li]การแต่งงาน หรูหราฟุ่มเฟือยมากขึ้นเพราะ ค่านิยมและการขยายตัวธุรกิจบริการ[/li][/list]

การละเล่นไทย


[li]การเล่นมีความหมายโดยทั่วไปว่า การพักผ่อน[/li]
[li]การเล่นขี่ม้าส่งเมือง มีอิทธิพลทางการเมืองการปกครอง[/li]
[li]การละเล่นที่คลี่คลายเป็นการเรียนการสอน เกิดจาก ระบบการศึกษาสมัยใหม่ตามตะวันตก[/li]
[li]การละเล่นไม่มีบทบาทใน การสร้างสรรค์สังคมให้สงบสุข[/li]
[li]การเล่นร่ายรำในขบวนแห่บั้งไฟ มีบทบาทต่อสังคมเกษตรมาก[/li]
[li]เด็กผู้ชายเอากาบมะพร้าวมาเรียงต่อกันเป็นบ้าน เป็นการเล่นไม่เหมาะสมกับวัย[/li]
[li]การเล่นทายอะไรเอ่ย เป็นการละเล่นที่พัฒนาการใช้ความคิดแก้ปัญหา[/li]
[li]การร้องเพลง ฝนเอยทำไมจึงตก กบมันร้อง ฯลฯ มีแง่คิด เป็นเพลงร้องเล่นฝึกทักษะการพูดและภาษา[/li]
[li]รองเท้ากะลามะพร้าวที่ผู้ใหญ่ทำให้เด็ก เป็นของเล่นที่สร้างความอบอุ่นในครอบครัวไทย[/li]
[li]เกมกด สะท้อนให้เห็นสังคมไทยว่า เปิดโลกกว้างรับทุกอย่างจากภายนอก[/li]
[li]เพลงและการละเล่นพื้นบ้านมีต้นเค้ามาจาก การบูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์[/li]
[li]การละเล่นพื้นบ้าน เป็นของชาวบ้าน สะท้อนอารมณ์ความนึกคิด ในธรรมชาติ[/li]
[li]การละเล่นผู้ใหญ่ประเภทเพลง มีการร่ายรำ ดนตรี เป็นปัจจัยจาก เพลงประกอบพิธี[/li]
[li]การระบำ รำ ฟ้อน เซิ้ง เป็นการแสดงความสามารถเฉพาะบุคคล ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก[/li]
[li]การละเล่นกีฬา เป็นศิลปะการต่อสู้ การเล่นที่มีคุณค่า มีกติกา[/li][/list]

นาฏศิลป์และดนตรีไทย


[li]นาฏศิลป์เป็นศิลปะแห่งการละครฟ้อนรำ[/li]
[li]นาฏศิลป์เป็นที่รวมเอกลักษณ์หลากหลาย[/li]
[li]ลิเก เป็นนาฏศิลป์ พื้นบ้าน[/li]
[li]โขน เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงที่แสดงต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง[/li]
[li]อิเหนา อุณรุท รามเกียรติ์ นิยมแสดงประเภท ละครใน[/li]
[li]ดนตรีไทยเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและดำเนินชีวิตด้าน การบวช การแต่งงาน การตาย[/li]
[li]ปี่พาทย์มอญ เป็นวงดนตรีที่นิยมบรรเลงในงานศพ[/li]
[li]ปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงดนตรีที่นิยมบรรเลงในการเล่นโขน[/li]
[li]ผู้แสดงต้องร้องและรำเอง เป็นลักษณะพิเศษของละครดึกดำบรรพ์[/li]
[li]เพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงที่ใช้ประกอบกิริยาอาการตัวละคร[/li]
[li]วิชาชีพดนตรีไทยสามารถประกอบอาชีพ ครู นักแสดง ค้าขาย[/li]
[li]เพลงสาธุการ เป็นกัณฑ์ทศพร ในเทศมหาชาติ[/li]
[li]หนังใหญ่ นิยมแสดงเรื่อง รามเกียรติ์[/li]
[li]การเรียนนาฏศิลป์ไทย เป็นการเรียนในโรงเรียน[/li]
[li]สังคีตวิวัฒน์ หรือสังคีตประยุกต์ เป็น เพลงที่บรรเลงโดยการผสมระหว่าง วงดนตรีไทย-สากล[/li][/list]

วรรณกรรมไทย


[li]วรรณกรรม หมายถึง งานเขียนที่มีคุณค่าทั้งด้านเนื้อหาและการใช้ภาษา[/li]
[li]งานเขียนทุกประเภท ไม่ได้เป็น วรรณกรรม[/li]
[li]ประชาชนได้รับการศึกษาทั่วถึง เป็นสิ่งที่ส่งผลให้เพิ่ม ผู้สร้าง และผู้อ่านวรรณกรรม[/li]
[li]วัฒนธรรมประเพณี ไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ พัฒนาวรรณกรรม[/li]
[li]วรรณกรรม ไม่ได้ชี้นำสังคมได้ทุกสมัย[/li]
[li]วรรณคดี ในสมัยธนบุรีที่มีระยะเวลาสั้น เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ภาวะผู้นำ[/li]
[li]ประเภทวรรณกรรมมีน้อย ไม่ใช่ปัญหาจาก อุปกรณ์การผลิตวรรณกรรม[/li]
[li]การประเมินคุณค่าวรรณกรรมอย่างมีระบบ ไม่กระทบต่อการสร้างวรรณกรรม[/li]
[li]ไตรภูมิพระร่วง สามก๊ก มหาชาติคำหลวง มัทนะพาธา เป็นวรรณกรรมที่มีอิทธิพลจากต่างประเทศ[/li]
[li]โคลงราชสวัสดิ์ เป็นวรรณกรรมที่มุ่งสอนคนเฉพาะกลุ่ม[/li]
[li]ลิลิตโองการแช่งน้ำ เป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับ การสร้างศรัทธาในองค์กษัตริย์[/li]
[li]ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นวรรณกรรมที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ[/li]
[li]วรรณกรรมศาสนาและคำสอน เป็นการแบ่งวรรณกรรม ตามลักษณะของเนื้อหา[/li]
[li]พระราชพิธี 12 เดือน ไม่ได้ประพันธ์เพื่อ ใช้ในพิธี[/li]
[li]บทละคร มีรูปแบบเฉพาะเพื่อการแสดง ต่างจากนิยายร้อยกรอง[/li]
[li]การนำไปใช้ ของนิทานร้อยกรองต่างจากบทละครนอก มากที่สุด[/li]
[li]นิยายร้อยกรอง พระอภัยมณี กลอนไพเราะสนุก มีจินตนาการ[/li]
[li]ขุนช้าง ขุนแผน เป็นนิยายร้อยกรองที่ถ่ายทอดชีวิตคนไทยสมัยรัตนโกสินทร์[/li]
[li]ละครชาตรี เกิดสมัยแรกสุด[/li]
[li]ละครดึกดำบรรพ์ เกิดสมัยหลังสุด[/li]
[li]เนื้อหา นิราศ ไม่กล่าวถึง การสรรเสริญผู้ทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง[/li]
[li]ลักษณะของ นิราศ แสดงถึง การบันทึกประสบการณ์ที่กวีผ่านพบมากกว่ารำพันรัก[/li]
[li]การปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยประเทศตะวันตก เป็นปัจจัยที่กำหนดวรรณกรรมปัจจุบัน ที่เริ่มสมัย ร.5[/li]
[li]เรื่องสั้น ไม่ใช่นวนิยายขนาดสั้น[/li]
[li]นวนิยาย ต่างกับ เรื่องสั้น ในด้านแนวคิด[/li]
[li]หนังสือพิมพ์เกิดขึ้นครั้งแรกใน ร.3[/li]
[li]วรรณกรรมปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่สมัย ร.5[/li][/list]

สถาปัตยกรรมไทย


[li]เรือนแพริมน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมแบบ สิ่งก่อสร้างที่แสดงให้เห็นอิทธิพลสภาพแวดล้อมที่ตั้งบ้านเรือน[/li]
[li]บ้านไม้แบบเรือนไทยภาคกลาง เป็นตัวอย่างการใช้วัสดุก่อสร้างตามเงื่อนไขฟ้าดิน อากาศร้อนอบอ้าว[/li]
[li]การสร้างเรือนโดยกำหนดความยาวหรือสัดส่วนเป็นศอก คืบ เป็นคตินิยมด้าน การกำหนดขนาด[/li]
[li]การสร้างบ้านชาวเหนือ มุงหลังคาด้วยใบตองตึง เป็นคตินิยมด้าน การเลือกวัสดุ[/li]
[li]สร้างตัวเรือนทรงล้มสอบ ฝาปะกน เป็นลักษณะเด่น ของเรือนทรงไทย[/li]
[li]เรือนไทยมุสลิมชายแดนใต้ หลังคาจะเป็นทรงปั้นหยา[/li]
[li]ติดแผ่นไม้แคบตรงปลายตัว ขมวดเป็นตัวเหงาที่ขอบจั่ว เป็นจุดเด่นของกาแล[/li]
[li]เรือนแฝด หรือเรือนโข่ง เป็นลักษณะเด่นของ เรือนอีสาน[/li]
[li]ปรางค์ สถูป เจดีย์ วิหาร เป็นสถาปัตยกรรม ที่อยู่ในเขตพุทธาวาส[/li]
[li]ปรางค์ เป็นสถาปัตยกรรมที่มี รูปทรงแบบเขมร[/li]
[li]เจดีย์ เป็นสถาปัตยกรรม ที่มีสัณฐานเป็นรูปกรวย เหลี่ยมย่อมุม ระฆัง บัวเหลี่ยม บัวตูม[/li]
[li]พระราชวังเป็นเขตพระราชฐานชั้นกลาง เทียบกับ ห้องพักผ่อน[/li]
[li]คติธรรม การสร้างวัง จะมี พระมหาปราสาท ยกหลังคาจอมแห มีครุฑแบก[/li]
[li]พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นสถาปัตยกรรมที่ ผสมคตินิยมตะวันตกกับไทย[/li]
[li]โพสท์โมเดิร์น จะ คล้ายแบบสมัยใหม่แต่ซับซ้อน หรูหรากว่า[/li][/list]

ประติมากรรมและจิตรกรรมไทย


[li]ทัศนศิลป์ เป็นงานศิลปะประเภทวิจิตรศิลป์ ยกเว้น นาฏศิลป์[/li]
[li]งานประติมากรรมจัดอยู่ในแขนง ทัศนศิลป์[/li]
[li]งานประติมากรรมนูนต่ำได้แก่ ภาพแกะสลักหินอ่อนเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระเชตุพนฯ[/li]
[li]จิตรกรรม ผนังกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จ.อยุธยามีลักษณะพิเศษ ตรงที่เป็น ศิลปะจีนอักษรจีน[/li]
[li]การสร้างพระพุทธรูปของไทย ยุคแรกรับอิทธิพลจาก อินเดีย[/li]
[li]จิตรกรรมไทยนิยมเขียนบน ฝาผนังโบสถ์[/li]
[li]พระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นอุโบสถ์สมัยอยุธยาตอนต้น[/li]
[li]พระพุทธรูป เป็นประติมากรรมไทยที่สำคัญที่สุด[/li]
[li]ช่างไทยใช้ ขมิ้นชัน ทดสอบ ความเค็มบนผนัง[/li]
[li]อนุสาวรีย์ สืบ นาคะเสถียร จ.อุทัยธานี เป็นงานประติมากรรมรูปเหมือนบุคคลจริง[/li]
[li]แบบคันธาระ เป็นประติมากรรมรูปบุคคลที่สร้างแบบแรกในอินเดีย[/li]
[li]แบบอมราวดี เป็นประติมากรรมเก่าที่สุดในอินเดีย[/li]
[li]ศิลปะรุ่นแรกที่มีลักษณะเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นลักษณะสำคัญ ของศิลปะทวารวดี[/li]
[li]ประติมากรรมเขมร ที่พบในไทย เป็นแบบ ลพบุรี[/li]
[li]ประติมากรรมล้านนา รุ่นต้นเรียกว่า แบบเชียงแสนรุ่นแรก[/li]
[li]หมวดพิษณุโลก ไม่ใช่ประติมากรรมสมัยสุโขทัย[/li]
[li]ผ้าพระบฎ เป็น ผืนผ้าที่เขียนภาพในพุทธศาสนา[/li]
[li]กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ[/li]
[li]จิตรกรรมสมุดภาพมักเขียนบน สมุดข่อย[/li]
[li]พระธรรมจักรกับกวางหมอบ เป็นประติมากรรมสัญลักษณ์[/li]
[li]พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่งานทางศิลปะมากที่สุด[/li]
[li]ความนิยมศิลปะแบบจีนมีมากในสมัย ร.3[/li]
[li]พระพุทธรูปทรงเครื่องหมายถึง พระพุทธรูปประดับเครื่องทรงกษัตริย์[/li]
[li]ขรัวอินโข่ง เป็นผู้ริเริ่มเปลี่ยนวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมในไทยตามแนวตะวันตก[/li]
[li]การแสดงออกถึงวัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อทางศาสนา เป็นคุณค่าที่สำคัญของประติมากรรม[/li]
[li]ภาพ 2 มิติ เป็นลักษณะเด่นของงานจิตกรรมแบบประเพณีก่อนสมัยใหม่[/li]
[li]การเปลี่ยนแปลงประติมากรรมไทย เกิดขึ้นจาก สงครามโลกครั้งที่ 2[/li][/list]

งานช่างไทย


[li]ทำเครื่องมือ เครื่องใช้ ไว้ในครัวเรือน เป็นหน้าที่ของช่างไทย[/li]
[li]การเข้าเรียนวิชาช่าง ไม่เป็นวิธีการสืบทอดความรู้[/li]
[li]ความนิยมของผู้ใช้ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่องานช่างพื้นบ้านน้อยที่สุด[/li]
[li]ช่างสมัยก่อนจะไม่ปรากฏนามที่แน่ชัดในการสร้างชิ้นงาน[/li]
[li]ผ้ายก เป็นงานช่างที่จัดอยู่ในประเภทสิ่งทอ[/li]
[li]งานปั้นปูนประดับซุ้มประตูวัดประจำหมู่บ้าน ไม่ใช่ฝีมือช่างพื้นบ้าน[/li]
[li]ลักษณะงานช่างพื้นบ้านไม่สัมพันธ์กับคุณค่านิยมในเรื่อง สินค้าจำหน่ายได้ราคาดี[/li]
[li]ช่างหลวงสมัยก่อนหมายถึง ช่างที่เกณฑ์ทหาร และช่างถวายตัวรับใช้[/li]
[li]ทหารใน ทหารเล็ก ช่างสิบหมู่ เป็นกรมช่างหลวง[/li]
[li]ช่างสิบหมู่ มีสังกัดมาก[/li]
[li]ช่างสิบหมู่ ไม่จำกัดประเภทว่าต้องมีเท่าใด เพราะสิบหมู่ไม่ได้จัดเป็นจำนวนช่าง[/li]
[li]ช่างเขียน เป็นช่างที่ต้องทำงานสัมพันธ์กับช่างอื่นมากที่สุด[/li]
[li]กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และศิลปาชีพ เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริม อนุรักษ์ สืบทอดช่างไทย[/li][/list]

แนวการพัฒนาบนวิถีไทย


[li]วิถีไทย แปลตรงตัวหมายถึง แนวทางความเป็นไทย[/li]
[li]การพัฒนาประเทศ เป็น การทำให้เจริญ กระบวนการหลายมิติ งานระยะยาว[/li]
[li]การพัฒนาใน ร.5 เด่นตรงที่ การเดินสายกลาง ผสานวัฒนธรรมได้กลมกลืน[/li]
[li]วิธีปรับปรุง สมัย ร.5 เน้นหลักสร้าง ความสงบและความมั่นคง[/li]
[li]รัฐประชาชาติไทย เป็นผลสำคัญที่เกิดจากการปรับปรุงบ้านเมือง สมัย ร.5[/li]
[li]ปี พ.ศ.2475-2500 เกิดทุนนิยมแบบ โดยรัฐ[/li]
[li]แนวทางกำกับการพัฒนา เป็นสารสนเทศแผนพัฒนาเศรษฐกิจไทย[/li]
[li]พอควร พออยู่ พอกิน มีความสงบ หมายถึง เศรษฐกิจพอเพียง[/li][/list]



[li]สิ่งก่อสร้างพื้นฐานเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นแนวคิดสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1-2 (2504-2514)[/li]
[li]นักประวัติศาสตร์ใช้ กลองมโหระทึก เป็นหลักฐานว่าชุมชนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการติดต่อสัมพันธ์กัน[/li]
[li]ศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาสู่ดินแดนไทยครั้งแรกจาก แคว้นนครศรีธรรมราช[/li]
[li]ธนาคารโลก (WTO) เป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ[/li]
[li]ดินแดนไทยมีที่ราบสมบูรณ์ เป็นสาเหตุที่ดึงดูดให้ประชากรหลายเผ่าพันธุ์เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนไทย[/li]
[li]วัฒนธรรมประติมากรรมรูปสัญลักษณ์ได้รับแบบอย่างจากประเทศ อินเดีย[/li]
[li]ปราสาทหิน ได้รับวัฒนธรรมจากเขมร พบเห็นได้ทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[/li]
[li]การคิดค้นสำริดได้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์นำไปสู่การใช้ เหล็ก[/li]
[li]แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 มีผลทำให้สินค้าเกษตรและขั้นปฐมลดลงแต่อุตสาหกรรมส่งออกสูงขึ้น[/li]
[li]ชนชั้นขุนนาง เป็นสังคมปิด[/li]
[li]ไพร่หลวง มีหน้าที่ทำงานสาธารณประโยชน์[/li]
[li]การสักไพร่ทำขึ้นเพื่อ ป้องกันไม่ให้ไพร่ย้ายสังกัด[/li]
[li]ระบบอุปถัมภ์ เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาต่อเนื่องมาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นและยังคงแฝงเร้นอยู่ในสังคมปัจจุบัน[/li]
[li]ความรู้กลศาสตร์ เป็นเทคโนโลยีระดับก้าวหน้าของสังคมจารีต[/li]
[li]โทรศัพท์ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5[/li]
[li]การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสมุนไพร เป็นการประยุกต์ใช้สมุนไพรไทยในปัจจุบัน[/li]
[li]การหล่อประติมากรรมพระพุทธรูปใช้เทคโนโลยี โลหวิทยา[/li]
[li]ลัทธิ หมายความถึง สิ่งที่รับเอามานับถือ มีความหมายคล้ายกันกับ ศาสนา[/li]
[li]ระบบที่ทำให้ศาสนาดำรงอยู่
[/list]


[li]จักรวาลวิทยา[/li]
[li]มรรคปฏิบัติ[/li]
[li]ศีลธรรม[/li]
[li]พิธีกรรม[/li][/list]
[/li]
[li]การบูชาพระแม่โพสพ จัดเป็นความเชื่อดั้งเดิมอย่างหนึ่งของสังคมไทย[/li]
[li]เสียงมีความหมาย หมายถึง ระบบเสียง[/li]
[li]รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ จัดเป็นขนบประเพณีหนึ่ง[/li]
[li]การกินเจ เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์และการทำบุญกุศลที่มีมานานนับพันปี[/li]
[li]หุ่นกระบอก ทำโดยนายเถาะ พยัคฆเสนา[/li]
[li]พระราชกิจจานุเบกษา จัดเป็นหนังสือราชการ[/li]
[li]เมื่อพระขึ้นธรรมาสน์ และจบกัณฑ์เพื่อ นมัสการจะบรรเลง เพลงสาธุการ[/li]
[li]ลิลิตนิทราชาคริต ประพันธ์โดย รัชกาลที่ 5[/li]
[li]เรือนของ ภาคกลางและภาคเหนือ นิยมใช้ไม้สัก[/li]
[li]ภาคอีสาน นิยมปลูกเรือนแฝดหรือเรือนโข่ง[/li]
[li]ลักษณะของ เจดีย์ เป็นแบบเหลี่ยมย่อมุมที่นิยมสร้างสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์[/li]
[li]ผนังถ้ำ เพิงผา เป็นจิตรกรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบมาก[/li]
[li]สกุลช่าง เป็น แบบแผนที่กำหนดการปฏิบัติในการสร้างงานช่างอย่างเป็นระบบ[/li]
[li]"คดให้ได้วง ตรงให้ได้เส้น" คือ ช่างเขียน[/li]
[li]มูลนายระดับสูง หมายถึง ผู้มีศักดินา 400 ขึ้นไป และลดหลั่นไปตามลำดับ[/li]
[li]"ฆ้องระฆังกรับกลอง" เป็น เครื่องตี[/li]
[li]วงสุนทราภรณ์ เด่นเรื่อง ดนตรีประยุกต์[/li]
[li]วรรณกรรมนิราศจะกล่าวถึง


[li]การเดินทาง[/li]
[li]การอาลัยอาวรณ์คู่รัก[/li]
[li]บรรยายสถานที่ๆ ไป[/li][/list]
[/li]


Credit: ชมรม น.ศ.มสธ.ชลบุรี



อุตสาหกรรมทางรอดหรือทางหายนะ


Code:
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=3873



เศรษฐีธิปไตย บทเรียนจากฟิลิปปินส์


Code:
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q4/article2004nov17p1.htm

bigeyes.gif
 

PlAwAnSaI

Administrator
พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย


[li]ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่และพฤติกรรมของมนุษย์แต่ละสมัยและแต่ละสังคมที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และปัจเจกบุคคล[/li]
[li]สภาพทำเลที่ตั้งของประเทศไทย มีผลดีในด้านการเป็นชุมทางการค้าขาย ทำให้ประเทศไทยมีบทบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับตั้งแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา[/li]
[li]วัฒนธรรมในดินแดนประเทศไทยมีวิวัฒนาการเริ่มตั้งแต่ การตั้งถิ่นฐาน มีภาษาพูด ความเชื่อ พิธีกรรม ศิลปะ เทคโนโลยี และมีหัวหน้าชุมชน ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นเมือง มีการจัดระเบียบทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และแบบแผนการดำเนินชีวิต เช่น ศาสนา พิธีกรรม มหรสพ ศิลปกรรม รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมเพิ่มพูน จนเป็นวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ[/li]
[li]การสร้างสรรค์วัฒนธรรมของมนุษย์ในยุคหิน เป็นการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จากวัสดุธรรมชาติ การแสวงหาอาหารโดยการล่าสัตว์ ตั้งแหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ และตามแหล่งอาหาร ทั้งนี้พัฒนามีความเจริญในยุคหินใหม่ที่รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์และตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน[/li]
[li]ระบบการปกครองของแคว้นต่างๆ ในดินแดนประเทศไทย ได้รับอิทธิพลจาก อินเดีย ซึ่งบางส่วนยังสืบทอดรูปแบบ ความเชื่อและคตินิยมมาจนถึงปัจจุบัน[/li]
[li]แคว้นโบราณในประเทศไทย มีความสำคัญ เพราะได้พัฒนาต่อเนื่องเป็นอาณาจักรสุโขทัย และอยุธยา แคว้นที่สำคัญ ได้แก่ ในภาคกลางคือ ทวารวดี ละโว้ อโยธยา สุพรรณภูมิ แคว้นในภาคเหนือ ได้แก่ หริภุญชัย ล้านนา สุโขทัย แคว้นในภาคอีสานมีแคว้นโคตรบูร แคว้นในภาคใต้ มีแคว้นตามพรลิงค์ (ต่อมาเป็นแคว้นนครศรีธรรมราช)[/li]
[li]อาณาจักรอยุธยา เกิดขึ้นและพัฒนาจากการรวมแว่นแคว้นต่างๆ โดยเฉพาะแคว้นละโว้และสุพรรณภูมิ ส่วนการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาในปี 2310 เกิดจากการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง การทำสงครามกับพม่า และความระส่ำระสายของระบบไพร่[/li]
[li]การสถาปนากรุงธนบุรี เกิดจากการกู้บ้านฟื้นเมืองของพระเจ้าตากสินมหาราช โดยกอบกู้อิสรภาพและสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักรให้มั่นคง ด้วยการปราบชุมนุมต่างๆ[/li]
[li]พัฒนาการของยุคสมัยรัตนโกสินทร์ที่สำคัญ ได้แก่
[/list]


[li]การฟื้นฟูบ้านเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น[/li]
[li]การปรับตัวให้พร้อมที่จะเผชิญกับจักรวรรดินิยมในสมัยรัชกาลที่ 4[/li]
[li]การปรับบ้านเมืองให้ทันสมัยในสมัยรัชกาลที่ 5 (ด้วยวิธีการทำให้เป็นตะวันตกและการสร้างรัฐชาติไทย)[/li]
[li]การพัฒนาการเมือง ระบอบประชาธิปไตย เศรษฐกิจและสังคม โดยใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับต่างๆ[/li][/list]
[/li]
พัฒนาการการปกครองไทย


[li]ปัจจัยทางประวัติศาสตร์ไทยที่สำคัญ และอิทธิพลที่ส่งผลต่อการเมืองการปกครอง
[/list]


[li]ปัจจัยด้านสังคมและการเมืองภายใน ได้แก่ ความเป็นอยู่ของบ้านเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณีและวัฒนธรรม ฯลฯ มีอิทธิพลต่อการกำหนดโครงสร้างทางสังคม การเมืองการปกครอง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม (ชนชั้นครอบครัวและชุมชน) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง (คือ โครงสร้างอำนาจ สถาบันและกระบวนการทางการเมืองการปกครอง)[/li]
[li]ปัจจัยด้านสังคมและการเมืองภายนอก คือ ทำเลที่ตั้ง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศและอิทธิพลการปกครอง มีอิทธิพลที่ส่งผลต่อรูปแบบความสัมพันธ์ในลักษณะของผลประโยชน์ของชาติตน นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลต่อการปรับตัวตามกระแสความเจริญด้านเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ[/li][/list]
[/li]
[li]แหล่งการศึกษาลักษณะการปกครองของไทย ก่อนสมัยประชาธิปไตย สามารถศึกษาได้จาก


[li]ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง กับการปกครองสมัยสุโขทัย มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก[/li]
[li]ศาสนาพุทธกับสังคมสุโขทัย เกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง บาป-บุญ และ นรก-สวรรค์[/li]
[li]ธรรมราชากับเทวราชาในการปกครองสมัยอยุธยา รับจากเขมร นำมาผสมกับคติพุทธศาสนาซึ่งเกิดการเคารพ และความศรัทธา ความศักดิ์สิทธิ์ในสถาบันพระมหากษัตริย์[/li]
[li]ระบบไพร่กับสังคมอยุธยาและระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย มีระบบจตุสดมภ์และอัครมหาเสนาบดี กับระบบไพร่ ซึ่งมีอิทธิพลเกิดเป็นระบบอุปถัมภ์ในเวลาต่อมา[/li]
[li]การปฏิรูปการปกครอง ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการจัดลำดับโครงสร้างเมืองเป็นชั้นๆ มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่เป็นศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก (เรียกว่าเมืองลูกหลวง เมืองหลานหลวง) และรอบนอกสุด คือ เมืองประเทศราช[/li][/list]
[/li]
[li]คณะราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือน มีบทบาทในการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยในยุคเริ่มแรก มีลักษณะการปกครองที่มีชื่อเรียกว่า อมาตยาธิปไตย[/li]
[li]"ผู้นำการปกครอง" ในยุคที่เรียกว่า "ยุคทหารและนายทุน"


[li]จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปกครองด้วยการบริหารอย่างเด็ดขาด เข้มแข็งและใช้ระบบอุปถัมภ์ จนได้ชื่อว่า "พ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการ"[/li]
[li]จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้นำระบบครอบครัวและสร้างทายาทสืบทอดอำนาจ โดยร่วมมือกับพ่อค้า นักธุรกิจ แสวงหาความร่ำรวย[/li][/list]
[/li]
[li]การปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยในยุคใหม่เริ่มจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก่อให้เกิดความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น และคนรุ่นใหม่พร้อมที่จะเข้ามาแสดงบทบาททางการเมืองมากขึ้น เหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 เกิดพัฒนาการที่เรียกว่า "ประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ" เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ประชาชนร่วมกันทวงอำนาจจาก ร.ส.ช. นำไปสู่ยุคประชาธิปไตยยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ และพัฒนาการต่อเนื่องจนมีรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 ที่เป็นรูปธรรม นำไปสู่การปฏิรูปการเมืองยุคใหม่ในปัจจุบัน[/li]
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย


[li]เศรษฐกิจไทยก่อนการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็น เศรษฐกิจแบบยังชีพ หรือเศรษฐกิจพอเลี้ยงตัวเอง และมีการค้าระหว่างประเทศแต่อยู่ในขอบเขตจำกัด[/li]
[li]สนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ มีการแบ่งงานทำระหว่างกลุ่มเชื้อชาติและการเกิดชนชั้นนายทุนและกรรมกร ระบบเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจแบบเงินตราหรือการค้า และเริ่มมีความเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจโลก[/li]
[li]การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยในช่วง พ.ศ. 2475 - 2504 เกิดทุนนิยมแห่งรัฐ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอันเนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกและการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมารัฐได้สนับสนุนภาคอุตสาหกรรม มีนายทุนไทยเชื้อสายจีนเข้ามามีบทบาทในการค้าแทนที่นายทุนตะวันตก[/li]
[li]แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-7 มีแนวคิดการพัฒนาประเทศโดยสรุป คือ เน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการลงทุนสิ่งก่อสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ มีการพัฒนาอุตสาหกรรม และการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-9 ได้เปลี่ยนแนวคิดเป็นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง ให้มีศักยภาพ มีสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดี ยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะฉบับที่ 9 ยึดหลักทางสายกลางให้มีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน พึ่งตนเอง มีความพอเพียงและก้าวทันโลกในยุคโลกาภิวัตน์[/li][/list]

พัฒนาการสังคมไทย


[li]ชนชั้นกลาง ในสังคมไทยมักเป็นกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาของสังคมตลอดจนการทดลองสิ่งใหม่ๆ เพราะเป็นชนชั้นปฏิบัติการที่มีความรู้ ความสามารถ[/li]
[li]กลุ่มคนในสมัยจารีตจนถึงช่วงก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งได้กว้างๆ เป็น 3 กลุ่ม คือ ชนชั้นปกครอง มีกษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง หรือมูลนาย, ชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่และทาส และชนกลุ่มน้อยนอกระบบศักดินา มีพระสงฆ์และชาวต่างชาติ[/li]
[li]ระเบียบสังคม หมายถึง กฎเกณฑ์ หรือระเบียบที่แต่ละสังคมกำหนดขึ้นเพื่อกำกับให้การอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนต่างๆ ดำเนินไปด้วยดี และการกำหนดกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นนี้ สมาชิกในสังคมต้องยอมรับร่วมกัน[/li]
[li]ไพร่ในสังคมจารีตมี 2 ประเภท คือ
[/list]


[li]ไพร่สม เป็นไพร่ที่เป็นสมบัติส่วนตัวของเจ้าขุนมูลนาย โดยได้รับพระราชทาน จากกษัตริย์ตามศักดินาของมูลนาย[/li]
[li]ไพร่หลวง เป็นไพร่ที่ทำงานหลวงใช้แรงงานให้แก่กษัตริย์ ไพร่อาจจะส่งสิ่งของหรือจ่ายเป็นเงินแทนการถูกเกณฑ์แทนใช้แรงงานก็ได้ เรียกว่า ไพร่ส่วย[/li]
[/list]
[/li]
[li]การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัยในรัชกาลที่ 5 มีปัจจัยพื้นฐานในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นสมัยใหม่ คือ การแผ่อำนาจของจักรวรรดิ์นิยมตะวันตก การขาดประสิทธิภาพของระบบไพร่และหน่วยงานราชการ และการที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วิทยาการตะวันตกมากขึ้น[/li]
[li]สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงเป็นสังคมสมัยใหม่ (สังคมไทยร่วมสมัย) โดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก มีการพัฒนาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โครงสร้างชนชั้นในสังคมเปลี่ยนเป็นชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง ทั้งนี้มีเงื่อนไขที่เป็นปัจจัยสำคัญ คือ ระบบการศึกษา ที่ทำให้มีการเลื่อนฐานะทางชนชั้น[/li]
เทคโนโลยีไทย


[li]ธรรมชาติวิทยา คือ ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมหรือปรากฎการณ์ธรรมชาติที่พัฒนาเป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชนนั้นๆ
วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ซึ่งวิวัฒนาการมาจากธรรมชาติวิทยา เป็นรูปแบบความคิดที่นำไปสู่ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างหรือพฤติกรรมมนุษย์ที่นอกเหนือไปจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ[/li]
[li]สังคมสมัยจารีต มีเทคโนโลยี 2 ระดับ
[/list]


[li]เทคโนโลยีระดับพื้นฐาน นำมาใช้แก้ไขปัญหาความต้องการพื้นฐาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตให้มีความสุข เช่น เทคโนโลยีที่นำมาทำเป็นเครื่องมือการเกษตร[/li]
[li]เทคโนโลยีก้าวหน้า เป็นความรู้ที่ได้ในยุคปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ นำมาใช้ยกระดับชีวิต และประดิษฐ์คิดค้นผลงานด้านต่างๆ เช่น การก่อสร้าง การแพทย์[/li][/list]
[/li]
[li]การแพทย์ตะวันตก และเทคโนโลยีการพิมพ์ เป็นเทคโนโลยีตะวันตกที่ประเทศไทยรับเข้ามาเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น[/li]
[li]เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีความสำคัญที่ก่อให้เกิดความรู้ในระดับลึก มีความหลากหลาย นำไปประยุกต์ใช้หรือใช้ประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องจักรกล และสร้างสรรค์เทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้า และมีข้อควรคำนึง คือ ควรนำมาใช้อย่างรู้เท่าถึงการณ์ ถ้าไม่รู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสม จะเกิดปัญหาที่ยากจะแก้ไข หรือเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ควรพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อจะได้พึ่งตนเองโดยไม่ต้องซื้อหรือพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากเกินไป[/li]
[li]เทคโนโลยีที่สำคัญในวิถีชีวิตไทย ได้แก่ เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีเภสัชกรรม เทคโนโลยีชลประทาน และเทคโนโลยีโลหะ[/li]
ความเชื่อและศาสนากับสังคมไทย


[li]ความเชื่อได้พัฒนามาถึงจุดสูงสุดจนเป็นระบบความเชื่อ ที่เรียกว่าศาสนา มีคำสอน บุคลากร พิธีกรรม ศาสนสถาน และศาสนิกผู้นับถือเป็นองค์ประกอบ ซึ่งมีความสำคัญต่ออารยธรรมของมนุษยชาติ[/li]
[li]ความเชื่อและศาสนาเป็นสถาบันหลักทางวัฒนธรรมในแต่ละสังคม เพราะความเชื่อและศาสนากำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์และกำหนดพฤติกรรมของคนในสังคมให้ทุกสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ในขณะเดียวกันก็มีส่วนสร้างสรรค์สถาบันอื่นๆ ในสังคมด้วย[/li]
[li]ความเชื่อดั้งเดิมในสังคมไทยมีความเชื่อผีสาง เทวดา ว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถบันดาลดี ร้าย เชื่อถือบรรพบุรุษว่าสามารถคุ้มครองครอบครัว บ้านเมือง ให้อยู่เย็นเป็นสุข และความเชื่อเรื่องโลก จักรวาล[/li]
[li]ศาสนาในด้านมนุษยธรรม ศาสนาจะเป็นตัวจักรสำคัญในการช่วยเหลือผู้ตกยาก ประสบภัย รวมทั้งรักษาสภาพแวดล้อมเพราะสามารถใช้ความเชื่อ ทำให้เกิดความศรัทธา และความไว้วางใจในการดำเนินการว่า ไม่มีอคติ และไม่นำทรัพย์สินที่จะไปช่วยเหลือไปใช้จ่ายอย่างไม่ถูกต้อง[/li][/list]

ภาษาในวิถีชีวิตและสังคมไทย


[li]ภาษามีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของสังคมมนุษยชาติ คือ ใช้สื่อสาร สื่อความคิด ความรู้สึก ความรู้ ทำให้ชีวิตดำเนินไปได้ นอกจากนั้นภาษายังใช้บันทึกความรู้ ความเจริญ แสดงอารมณ์ ความงามในจิตใจของมนุษย์ออกมาให้ปรากฏได้ และถ่ายทอดวัฒนธรรมและประเพณีจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง[/li]
[li]ภาษาสังคม เป็นภาษาที่อยู่ในสังคมหนึ่งๆ กำกับด้วยกลุ่มสังคมต่างๆ การใช้ภาษาจึงต่างกันด้วยอาชีพ วัย เพศ การศึกษา กลุ่มเชื้อชาติ ชนชั้น และท้องถิ่น[/li]
[li]ภาษาศาสตร์สังคมแบ่งเป็นสาขาใหญ่ได้ 2 สาขา คือ ภาษาศาสตร์สังคมแนวบรรยาย และภาษาศาสตร์สังคมเชิงพลวัต[/li][/list]

ประเพณี พิธีกรรมไทย


[li]ประเพณีเป็นแบบแผนการประพฤติปฏิบัติ ตามที่สังคมกำหนดไว้เป็นแนวเดียวกันและสืบต่อกันมา เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอยู่รวมกันอย่างสงบสุข
พิธีกรรม คือ วิธีการกระทำของบุคคลหรือสถาบันทางสังคมเพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามต้องการ ต่อมากลายเป็นประเพณีของสังคม เช่น
[/list]


[li]แห่นางแมวเพื่อขอฝน[/li]
[li]เว้นตัดผมวันพุธ เป็นประเพณีปรัมปรา[/li]
[li]โกนผมไฟเด็กอายุ 1 เดือน[/li]
[li]รับน้องใหม่ในมหาวิทยาลัย[/li][/list]
[/li]
[li]อิทธิพลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในการอนุรักษ์ พัฒนา และยกเลิกประเพณี พิธีกรรมไทย


[li]สภาพสังคม ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ ถิ่นที่อยู่ซึ่งเป็นธรรมชาติแวดล้อมต่างๆ[/li]
[li]ความเชื่อและศาสนา ได้แก่ คติความเชื่อดั้งเดิม และความเชื่อในคำสอนของศาสนาที่เคารพนับถือ[/li]
[li]การรับอิทธิพลจากต่างชาติ ได้แก่ ค่านิยม การประพฤติปฏิบัติ เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรมที่ไทยติดต่อสัมพันธ์ด้วย[/li][/list]
[/li]
[li]ประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิต จะเป็นประเพณีและพิธีกรรมในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในการดำเนินชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ บุคคลที่แวดล้อมในชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นวิธีการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง และคาดหวังว่าจะเปลี่ยนไปในทางที่ดี เพื่อความสุขสบายและความปลอดภัยในการดำรงชีวิต[/li]
[li]ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวเนื่องกับศาสนา คือ คำสอน (หลักธรรม) และนักบวช เพื่อระลึกถึงคุณความดีของศาสดา ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นตามศาสนประวัติ และเป็นการเกื้อหนุนนักบวช ประเพณีและพิธีกรรมจึงช่วยธำรงให้ศาสนามั่นคงสถาพร[/li]
ประเพณี พิธีกรรมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดต่อเนื่องถึงปัจจุบัน การศึกษาประเพณี พิธีกรรมไทย ช่วยให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองและความก้าวหน้าของสังคมไทยที่มีมาตามลำดับ ประเพณี พิธีกรรม เป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดเอกลักษณ์ของคนไทย ในด้านบุคลิกลักษณะ นิสัยใจคอ และการแสดงออก เช่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น การเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ ฯลฯ ลักษณะเหล่านี้ช่วยให้สังคมมีสันติสุขและแสดงถึงความแตกต่างจากคนชาติอื่น

การศึกษาเรื่อง "ประเพณี พิธีกรรมไทย" ช่วยให้เข้าใจได้ว่า อารยธรรมของชาติอื่นๆ ได้มีอิทธิพลต่อประเพณี พิธีกรรมไทย นอกจากจะรับมาปฏิบัติตามแล้ว ยังดัดแปลงแก้ไขโดยผสมผสานกลมกลืนกับประเพณี พิธีกรรมเดิม กลายมาเป็นรูปแบบของไทย เช่น การรับวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นประเพณีสากลทั่วโลก คนไทยจัดให้มีประเพณีทำบุญตักบาตรตามคติพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก็ยังมีวันขึ้นปีใหม่แบบประเพณีเดิมคือวันสงกรานต์ด้วย

อย่างไรก็ตาม ประเพณี พิธีกรรมไทยที่ปฎิบัติกันในสังคมบางอย่างมีผลกระทบอันเป็นอุปสรรคต่อการบริหารและพัฒนาสังคม กล่าวคือ ประเพณี พิธีกรรมไทยได้ปลูกฝังให้คนไทยเคารพยกย่องผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา นอกจากจะทำให้มีความอ่อนน้อมต่อผู้อาวุโสแล้ว ในอีกด้านหนึ่งทำให้ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และดำเนินชีวิตเรียบง่าย ไม่กระตือรือร้นที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ผิดแผกไปจากประเพณีเดิม ประเพณีพิธีกรรมบางอย่างเน้นการเฉลิมฉลองและมีค่านิยมของการมีหน้ามีตา ก็จะจัดพิธีการใหญ่โต ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย โดยละเลยแก่นและแนวคิดที่แท้จริงของประเพณีและพิธีกรรม เป็นภาระที่ต้องขวนขวายหาเงินทองมาจับจ่ายใช้สอย เสมือนเป็น "การตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ" การศึกษาเรื่องของประเพณี พิธีกรรม จึงช่วยให้เข้าใจบทบาทและแนวคิดของประเพณี พิธีกรรม และพิจารณาได้ว่าควรยึดถือปฏิบัติตามประเพณี พิธีกรรมสืบไป หรือแก้ไขดัดแปลงให้เหมาะสมกับยุคสมัย รวมทั้งอาจนำมารณรงค์ให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทยไม่ให้สูญหายหรือเสื่อมสลายไป

นอกจากนี้ ควรตระหนักอยู่เสมอว่า ประเพณี พิธีกรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อมทางสังคม ความเชื่อ รวมทั้งค่านิยมจากต่างชาติ สังคมปัจจุบันมีความเจริญทางด้านวัตถุจนเกิดปัญหาทางจริยธรรม ดังกรณีที่เมื่อมีการคมนาคมสะดวกสบาย การทำงานในภาคการเกษตรเปลี่ยนเป็นงานภาคอุตสาหกรรม ชีวิตความเป็นอยู่ต้องพึ่งพาเครื่องใช้สอยที่เป็นเทคโนโลยีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้การไหลบ่าของวิทยาการทางตะวันตกและการศึกษาในระบบ ได้ยังผลให้คนไทยมีแนวคิด ค่านิยม ความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนไปตามอย่างตะวันตก เช่น ตระหนักถึงการมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค มีเหตุผลเป็นของตนเอง วิถีชีวิตจากการช่วยเหลือจุนเจือกันซึ่งเป็นวัฒนธรรมของสังคมชนบทเปลี่ยนไปเป็นวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองที่มีการแข่งขัน เอารัดเอาเปรียบ คำนึงถึงตัวเองมากกว่าการช่วยเหลือผู้อื่น และไม่เคารพเชื่อถือผู้ใหญ่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้งและไม่เข้าใจ เกิดการต่อต้าน ไม่ยอมรับ ไม่ปฏิบัติตามประเพณี พิธีกรรม รวมทั้งยังมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อประเพณี พิธีกรรมอีกด้วย

นอกจากบางคนจะปฏิเสธแล้ว ยังไม่สนใจศึกษาและรับเอาประเพณี พิธีกรรม ของตะวันตกมาปฏิบัติ โดยไม่พิจารณากลั่นกรองและปรับใช้ให้เหมาะสม สภาวะเช่นนี้มีผลกระทบที่ทำให้ประเพณี พิธีกรรม มีแนวโน้มเสื่อมสลายไปในที่สุด เป็นวิกฤติทางวัฒนธรรม จำเป็นที่คนไทยทุกคนจะร่วมมือกันฟื้นฟูประเพณี พิธีกรรม โดยยึดถือปฏิบัติอย่างเหมาะสม สนใจศึกษาให้เข้าใจแนวคิดสำคัญของประเพณี พิธีกรรมไทย เมื่อปฏิบัติหรือพบเห็นประเพณี พิธีกรรมใดๆ จะได้รู้คุณค่าและสามารถปฏิบัติอย่างมีเป้าหมาย

วรรณกรรมไทย


[li]วรรณกรรม มีความหมาย 2 อย่างคือ
[/list]


[li]ความหมายกว้าง หมายถึง งานเขียนทุกประเภท ทุกชนิด[/li]
[li]ความหมายแคบ หมายถึง งานเขียนที่แต่งดี เป็นงานสร้างสรรค์ ใช้ศิลปะภาษาที่เรียกว่า วรรณศิลป์
วรรณคดี มีความหมายเช่นเดียวกับ ความหมายแคบของวรรณกรรม[/li][/list]
[/li]
[li]วรรณศิลป์ หมายถึง การใช้ภาษา อย่างมีศิลปะ ในการเรียบเรียงให้เกิดผลทางอารมณ์ มีองค์ประกอบสำคัญ คือ อารมณ์สะเทือนใจ ความนึกคิด จินตนาการ และการแสดงออก โดยใช้ภาษาบรรยายความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมแก่เนื้อหา[/li]
[li]วรรณกรรมจะเจริญ หรือเสื่อมขึ้นอยู่กับ เหตุการณ์บ้านเมืองนั่นคือ เมื่อใดที่บ้านเมืองสงบสุข ก็จะมีวรรณกรรมเกิดขึ้นหลากหลาย แต่ถ้าบ้านเมืองประสบภัยพิบัติ วรรณกรรมก็สูญหาย[/li]
[li]วรรณกรรมประเภทนิราศ เป็นวรรณกรรมแสดงอารมณ์และความรู้สึกของกวี คร่ำครวญพรรณนาถึงความระลึกถึงความอาลัยที่จากบ้าน จากหญิงที่รัก เมื่อถึงสถานที่หรือเห็นธรรมชาติต่างๆ ก็นำมาเปรียบเทียบ รำพึงรำพัน มีสำนวนนิราศบางลักษณะที่แต่งแทรกในวรรณกรรมประเภทต่างๆ จะใช้สำนวนนิราศเมื่อตัวละครพลัดพรากจากกัน นิราศมีประโยชน์ คือ ทำให้เห็นภาพชีวิต สังคม เศรษฐกิจ ที่เสมือนเป็นบันทึกประสบการณ์ของกวีและสะท้อนถึง ภาษา เหตุการณ์ สถานที่ ต่างๆ ที่กวีบันทึกไว้[/li]
[li]วรรณกรรมเชิงประวัติ เป็นบันทึกข้อมูลต่างๆ ของแต่ละสมัย เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ทางวัฒนธรรมและสังคมไทย ทำให้ทราบถึงความเป็นอยู่ของคนและสภาพบ้านเมืองในแต่ละสมัย[/li]
ประติมากรรมและจิตรกรรมไทย


[li]ประติมากรรม มีลักษณะเป็นทัศนศิลป์ ที่มองเห็นได้ 3 ลักษณะ คือ
[/list]


[li]มีพื้นหลังรองรับ ซึ่งมองเห็นได้ 2 แบบ คือ
[/list]


[li]มองเห็นด้านหน้าด้านเดียว คือประติมากรรมนูนต่ำที่มีความตื้นลึก สูงต่ำ จากพื้นหลังเล็กน้อย เช่น ลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์[/li]
[li]มองเห็นได้ 3 ด้าน คือ ด้านหน้าและด้านข้าง เป็นประติมากรรม นูนลอยขึ้นจากพื้น เช่น ลายปูนปั้นประดับหน้าบัน[/li][/list]
[/li]
[li]มีลักษณะลอยตัว มองเห็นได้รอบด้าน เช่น พระพุทธรูป[/li]
[li]ลักษณะ เจาะ หรือจมลงในพื้น เช่น รอยพระพุทธบาท[/li][/li]
[li]ประติมากรรมไทยก่อนสมัยใหม่ เกี่ยวข้องกับ ศิลปะในศาสนา ได้แก่ประติมากรรมรูปเคารพ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ลังกา และเขมร[/li]
[li]ประติมากรรมไทยสมัยใหม่ เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อเนื่องถึงรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคสมัยของการปรับตัวสู่ความทันสมัยที่มีชาติตะวันตกเป็นต้นแบบ ต่อมาได้พัฒนาตามอิทธิพลของการศึกษาศิลปกรรมสมัยใหม่ในระบบการศึกษา ซึ่งมีศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นหลักสำคัญ[/li]
[li]จิตรกรรม คือ งานศิลปกรรมที่สร้างสรรค์ ด้วยการวาด ระบายสี บนพื้นผิววัสดุต่างๆ[/li]
แนวการพัฒนาบนวิถีไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ให้เป็นแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับพื้นฐานของเราในวิถีวัฒนธรรมไทย เพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ผู้คนทุกหมู่เหล่าในสังคมไทยโดยรวม นอกจากนั้นเรายังมีรูปแบบอื่นของแนวทางการพัฒนาในวิถีไทยเพื่อความยั่งยืนที่จะพิจารณานำไปใช้ในพื้นที่ที่สอดคล้องเหมาะสมได้ สังคมไทยจะบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ก็ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของทุกๆ กลุ่มทุกชนชั้น ที่จะช่วยกันผลักดันให้ไปสู่ฝั่งฝันแห่งความสำเร็จ อันเป็นอนาคตที่สังคมไทยยังรอคอยคำตอบอยู่ ขอจบด้วยพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ เป็นคมคิดที่ควรค่ายิ่งแก่การน้อมนำไปปฏิบัติได้ในทุกระดับ

....การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นตอน ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกินพอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนให้สอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด....


(พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 18 กรกฎาคม 2517)



....ทั้งนี้ คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธานในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่ แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้....


(พระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา 4 ธันวาคม 2517)



สอนเสริม 1/2555


Code:
http://ctestream02.stou.ac.th/stou_e-t.htm



อึ้ง!! ประเทศไทยค่าครองชีพสูงกว่าที่อังกฤษ!!!


Code:
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2516873



ประเพณีไทย ดอท คอม, ประเพณีท้องถิ่น, วัฒนธรรมไทย, พิธีกรรม, ความเชื่อ, การละเล่นพื้นบ้าน, แหล่งท่องเที่ยว, โบราณคดี,


Code:
http://www.prapayneethai.com



ความล้มเหลวของการศึกษาไทย


Code:
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/298471




Code:
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2473398



รร.ดังเรียกแป๊ะเจี๊ยะ 2 ล้าน


Code:
http://www.kingdomplaza.com/scoop/news.php?nid=3791



ทำไมชนต่างชาติจึงพากันมากวาดกว้านซื้อหาที่นาไทยและแผ่นดินไทย ไม่ใช่อื่นใดหากเป็นไปเพื่อรองรับกับความเรียกร้องต้องการด้านอาหารและน้ำตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึง


Code:
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000093022



การใช้วัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ของเกาหลีใต้: บทเรียนของประเทศไทย –KOCCA: เกาหลีกับการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า


Code:
http://www.creativeokmd.com/articles/1/74


การคมนาคมขนส่งเกาหลีใต้


Code:
http://www.ehomeeasy.com/show_saveas.php?sarakoobann_id=199



โรงเรียนเป็นแหล่งทำลายความคิดสร้างสรรค์


Code:
http://www.ted.com/talks/lang/th/ken_robinson_says_schools_kill_creativity.html



มหาอำนาจทางพลังงาน vs รัฐบาลขายชาติ


Code:
http://www.facebook.com/notes/%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88-tanond/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-vs-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4/225246627488359#!/notes/%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88-tanond/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-vs-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4/225246627488359



นโยบายรถคันแรกเปลี่ยนเป็นอะไรได้บ้าง ?


Code:
http://www.facebook.com/#!/photo.php?fbid=380620392031277&set=a.150688071691178.34557.148096845283634&type=1&theater



เนเธอร์แลนด์ แดนจักรยาน


Code:
http://www.youtube.com/watch?v=HScC9KaUd1Y



เรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความจริงที่คนภาคอื่นส่วนใหญ่ยังไม่รู้


Code:
http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=18860


ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้


Code:
http://www.deepsouthwatch.org



ทาสไม่เคยหายไปจากเมืองไทย
ความเป็นจริงของชีวิตและการใช้วิจารณญาณ


Code:
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=724494



The American Dream (Federal Reserve คืออะไร)
bigeyes.gif
 

PlAwAnSaI

Administrator
ระบบการศึกษาไทย ความล้มเหลวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=310581272410156
 
Top