อยากจะเรียนต่อเมืองนอก ทำอย่างไรดีเมื่อ GPA น้อย

echelon

New member
ก่อนอื่นขอเรียนให้ทราบก่อนนะครับว่า บทความนี้ผมไม่ได้เขียนขึ้นเองนะครับ เป็นบทความที่ผมคัดลอกมาจาก TSAClub.com อีกทีนะครับ ซึ่งทางเจ้าของบทความอนุญาตให้เผยแพร่ได้ ผมเห็นว่าเป็นบทความที่น่าสนใจดี และคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลายๆ คนที่ต้องการจะสมัครเรียนต่อต่างประเทศ เลยขอเอามาลงไว้เพื่อเป็นข้อมูลนะครับ



Quote:
[size=10pt]เพื่อนๆ หลายคนอาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของการที่ทำเกรดไว้ตอนปริญญาตรีหรือตอนเรียนมปลายสำหรับน้องๆที่อยากเรียนต่อปริญญาตรีที่เมืองนอกได้ค่อนข้างน้อย ซึ่ง สิ่งต่างๆเหล่านี้เราไม่สามารถกลับไปแก้เกรดได้แล้ว เพื่อนๆก็ไม่ต้องไปนั่งมัวแต่กังวลนะครับ เพราะอย่างน้อยก็ยังพอมีทางออกที่จะแก้ไขข้อจำกัดให้ดีขึ้น ทั้งนี้ผมได้ทำสรุปจากบทความที่ผมอ่านมาและจากประสบการณ์ที่เคยรู้มาออกเป็น ทั้งหมด 5 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้

1. ก่อนที่เพื่อนๆจะสมัครไปยังหลักสูตรใดหรือมหาวิทยาลัยใดนั้น หากเพื่อนๆ มีข้อจำกัดในเรื่องใดก็ตามไม่เฉพาะเรื่องเกรดเท่านั้น ขอให้สอบถามทางมหาวิทยาลัยให้แน่นอนก่อนว่า ถ้าสิ่งที่เรามีอยู่นั้นต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ทางเค้ากำหนดมา เราจะยังสามารถสมัครได้อยู่หรือไม่ เค้าจะรับพิจารณาหรือไม่ เพราะมีบางมหาวิทยาลัยนะครับที่หากว่าเรามีคุณสมบัติที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว เค้าจะไม่พิจารณาเราเลย แม้เราจะเสียเงินสมัครไปแล้วก็ตาม ส่วนตัวผมไม่มีปัญหาเรื่องเกรด แต่มีปัญหาเรื่อง TOEFL คือคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ 1 คะแนน ผมสอบถามไปบางมหาวิทยาลัย บางแห่งเค้าบอกว่าเค้าไม่รับ ไม่พิจารณาใดๆทั้งสิ้น ในขณะที่บางแห่งก็บอกว่าผมสามารถที่จะสมัครได้ แต่ขอให้พยายามอย่างสุดความสามารถโดยไปสอบใหม่ก่อนถ้าเป็นไปได้

สำหรับกรณีของเรื่องเกรด ผมแนะนำให้เพื่อนๆ ว่านอกจากจะถามว่าเพื่อนๆสามารถยังสมัครได้หรือไม่หากเกรด ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แล้วลองถามดูว่า Average GPA และ GPA Range ของ ผู้สมัครรุ่นก่อนๆ เป็นอย่างไรบ้างและหากเป็นไปได้ผมแนะนำว่าให้เพื่อนๆขอคำ แนะนำเค้ามาด้วยว่าถ้าข้อจำกัดเราเป็นแบบนี้ มีวิธีทางไหนบ้างที่ทางมหาวิทยาลัยเค้าแนะนำเพื่อที่จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการตอบรับจากทางมหาวิทยาลัย

2. พยายามอัพโปรไฟล์ของเราโดยปรับคุณสมบัติที่เรายังสามารถปรับได้ให้ดีขึ้นเช่น การเพิ่มคะแนน GMAT มี ประสบการณ์ทำงานมากกว่าที่เค้ากำหนด โดยเฉพาะหากเพื่อนๆ เลือกเรียนในหลักสูตรที่ทางมหาวิทยาลัยไม่ได้กำหนดให้ใช้ ประสบการณ์ทำงานในการสมัครแล้วนั้น การที่เราทำงานมาก่อนถือเป็นข้อได้เปรียบที่ดีครับ

ผมเคยอ่านเจอบทความนะครับว่า GMAT หรือ GRE ไม่สามารถนำไปชดเชยกับเกรดที่ต่ำได้ ซึ่งผมเห็นด้วยบางส่วน อย่างไรก็ตามผมมองว่าคะแนน GMAT และ GRE นั้นเป็นคะแนนบ่งชี้ว่าเราจะสามารถเรียนได้ดีมากน้อยแค่ไหนในชั้นปีแรกที่เราเข้าไปเรียน ดังนั้นหากคะแนน GMAT หรือ GRE ของเพื่อนๆสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้สมัครรายอื่นๆแล้ว ผมเชื่อว่าบางมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ยึดติดกับเรื่อง GPA มากเกินไปก็น่าจะหันมาพิจารณาใบสมัครของเพื่อนๆด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นก็อาจจะพยายามหา Recommendation Letter โดย เฉพาะอย่างยิ่งจากอาจารย์ที่เราเคยเรียนและสนิทด้วยให้ช่วยเขียนจดหมายแนะนำ ตัวให้เราครับ หากเป็นไปได้ ก็ควรใช้เวลาคุยกับอาจารย์ซักหน่อยว่าเรามีปัญหาเรื่องเกรดนะ มันเป็นอุปสรรคของเราในการเข้าเรียน อาจารย์จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหน

ส่วนตัวผมมองแบบนี้นะครับว่า หากเพื่อนๆ มีโปรไฟล์ที่เพอร์เฟกต์อยู่แล้ว อันนั้นถือเป็นสิ่งที่ทุกคนหวังไว้ อย่างไรก็ตามส่วนมากแล้ว คนเราไม่มีอะไรที่เพอร์เฟกต์หรอกครับ บางคนเกรดน้อย บางคน GMAT, GRE, SAT น้อย บางคนขาดประสบการณ์ทำงาน บางคนเขียน SoP, Essay ไม่ ดี เพราะฉะนั้นแล้ว หากว่าเพื่อนๆ สอบถามทางมหาวิทยาลัยและทางนั้นก็อนุโลมให้เราสมัครได้ นั่นหมายความว่าเพื่อนๆก็ยังมีโอกาสอยู่ ดังนั้นการปรับปรุงโปรไฟล์ในส่วนที่เรายังสามารถแก้ไขหรือพัฒนาได้นั้นจึง เป็นวิธีหนึ่งสำหรับเพื่อนๆ ที่อาจจะมีเกรดต่ำหรืออาจจะมีข้อจำกัดอื่นๆ ครับ ยิ่งเพื่อนๆมีเกรดที่ต่ำมากเท่าไหร่ สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ต้องทำงานให้หนักกว่าคนอื่นๆมากขึ้นเท่านั้น

3. อีกวิธีนึงที่อาจจะเป็นการแก้ไขปัญหาโดยตรงเลย แต่อาจจะต้องลงแรงลงเงินอยู่ก็คือการเรียนต่อปริญญาโทในประเทศก่อนเพื่อปรับ เกรด ปัจจุบันมีหลักสูตรหนึ่งปีที่เพื่อนๆให้เลือกอยู่บ้าง มันอาจจะแพงซักหน่อย แต่ถ้าเพื่อนๆ ตั้งความหวังเอาไว้ค่อนข้างสูงในการเข้ามหาวิทยาลัยในระดับสูง พอสมควรแล้วนั้น มันก็อาจจะคุ้มที่จะทำครับ ทั้งนี้ไม่ได้เป็นแต่เพียงการปรับเกรดเท่านั้น แต่ยังเป็นการเสริมเพิ่มเติมความรู้ให้กับเพื่อนๆด้วยนะครับ นอกจากนั้นในกรณีที่เพื่อนๆเปลี่ยนสายการเรียนเช่น อาจจะจบวิศวะมา แต่อยากต่อไฟแนนซ์ แล้วเผอิญเกรดไม่ดีด้วยเนี่ย ก็อาจจะลองหาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงินที่เป็นหลักสูตรหนึ่งปีเรียนดู เพื่อที่ว่านอกจากจะเป็นการปรับเกรดแล้วก็ยังเป็นการค้นหาตัวเองแล้วก็ได้ เพื่อนใหม่ๆด้วยครับ ดีไม่ดี เพื่อนๆอาจจะค้นพบว่าชอบเรียนเศรษฐศาสตร์ไปเลยก็ได้

4. หลังจากสอบถามทางมหาวิทยาลัย และหากทางมหาวิทยาลัยอนุโลมให้เพื่อนๆสมัครได้แล้วนั้น อีกวิธีที่เพื่อนๆควรทำก็คือควรเขียนอธิบายไปว่าทำไมเราถึงได้เกรดน้อย อาจจะด้วยเหตุผลส่วนตัวเช่น ต้องทำงานหาเงินเรียนไปด้วย หรืออาจจะป่วย หรือด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ที่คิดว่าค่อนข้างมีน้ำหนักและน่าเชื่อถือ โดยปกติแล้วสำหรับในบางมหาวิทยาลัย เค้าจะให้โอกาสเราทำการเขียน Optional Essay คือ เขียนเป็นอีกหนึ่งหัวข้อขึ้นมาเลย แล้วใช้ในส่วนนี้เป็นโอกาสในการอธิบายว่าทำไมเราถึงได้เกรดน้อย อย่างไรก็ตาม หากเค้าไม่ได้บอกว่าให้เราเขียน Optional Essay เพื่อนๆก็อาจจะเขียนอธิบายลงไปใน Statement of Purpose ก็ทำได้เช่นกัน

นอกจากการอธิบายเหตุผลส่วนตัวแล้ว เพื่อนๆ อาจจะทำการอ้างโดยใช้เหตุผลว่าในปีแรกๆอาจจะทำเกรดได้ไม่ค่อยดี แต่หากคิดเฉพาะเกรดของวิชาเอกที่เพื่อนๆเรียนหรือคิดเฉพาะสองปีสุดท้ายแล้ว ได้เกรดสูงมาก นอกจากนั้นก็อาจจะเทียบเกรดเราให้ทางมหาวิทยาลัยเค้าเห็นว่าเกรดของคณะที่เพื่อนๆ เรียนนั้นค่อนข้างถูกกด โดยอาจจะแสดงว่าแม้ว่าจะได้เกรดเพียงแค่ 2.7 แต่ก็อยู่ในเปอร์เซนต์ไทล์อันดับที่ 80 ของรุ่น เป็นต้น

5. ทางเลือกสุดท้ายที่ผมอยากจะแนะนำให้ทำหลังจากที่พยายามทำข้อแนะนำอื่นๆ มาทั้งหมดแล้ว ก็คือ การเลือกมหาวิทยาลัยให้เหมาะสมกับระดับของเราเอง โดยอาจจะลดระดับความยากในการเข้าในมหาวิทยาลัยนั้นๆลงมา เพื่อให้เหมาะกับโปรไฟล์ที่เรามีอยู่

หวังว่าบทความในส่วนนี้คงเป็นแนวทางให้เพื่อนๆ ได้พอเห็นโอกาสของตัวเองในการเข้า สู่มหาวิทยาลัยที่ต้องการนะครับ สำหรับน้องๆที่กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย เกรดนั้นเป็นอีกเรื่องสำคัญในการเรียนต่อ ดังนั้นในเมื่อน้องๆ ยังมีโอกาสที่จะพัฒนาและปรับเกรดตัวเองให้สูงขึ้น รีบทำเถอะนะครับ เพื่ออนาคตของตัวน้องๆเอง โชคดีครับ[/size]



Credit: http://www.tsaclub.com
Link to the original article: http://www.tsaclub.com/edu_guide.php?article_id=52

ผมขอเสริมอะไรหน่อยนะครับ (ดูท่าจะไม่หน่อยแล้วล่ะ)
ในส่วนของการสมัครเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ถ้าเกรดเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ที่เขากำหนดไว้ (ในที่นี้คือ ต่ำกว่าเกณฑ์นิดหน่อย เช่น ต้องการ 3.00 แต่เราได้เกรด 2.90 ไม่ใช่ต่ำกว่า 2.50 แล้วไปถามนะครับ อันนี้โดนเขี่ยทิ้งแน่นอน) ก็อาจจะต้องลองส่งอีเมล์ถามกับทางมหาวิทยาลัยดูเอานะครับว่า เราพอจะสมัครได้หรือไม่ (ในที่นี้อาจจะต้องเป็นภาควิชา เพราะโดยทั่วไปแล้ว การพิจารณาจะขึ้นอยู่กับบอร์ดผู้บริหารของภาควิชาที่เราจะสมัคร) หรือไม่ก็อาจจะต้องเสริมโปรไฟล์อื่นๆ ให้แกร่งขึ้น ตามที่บทความข้างบนได้กล่าวไว้

แต่ถ้าเป็นกรณีของประเทศอังกฤษ (อาจจะรวมออสเตรเลียด้วยนะ อันนี้ผมเองก็ไม่แน่ใจ) บางครั้งก็จะมีตัวแทนจากมหาวิทยาลัย (ส่วนมากจะเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายรับสมัครนักศึกษาต่างชาติ หรือฝ่ายกิจการต่างประเทศ) มาที่ประเทศไทย ซึ่งเราสามารถเข้าไปสอบถามได้ โดยอาจจะมาที่งานสัมนาศึกษาต่อ (เรียกง่ายๆ ว่ามาออกบูธ) หรือไม่ก็อาจจะมาที่เอเจนซี่ที่ทางมหาวิทยาลัยแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการ (สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่เราต้องการจะสมัคร) ซึ่งในกรณีหลังนี้ ในเว็บไซต์ของเอเจนซี่จะบอกว่า "สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัย XXX" โดยในการสัมภาษณ์นี้ จากประสบการณ์ผมนั้น ผมขอแบ่งออกเป็นสองกรณี ก็คือ

1) กรณีที่ยังไม่ได้สมัคร ถ้าเป็นกรณีนี้ การสัมภาษณ์จะอยู่ในลักษณะของการสอบถามรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสมัคร ซึ่งในส่วนนี้ เราสามารถที่จะถามกับทางเจ้าหน้าที่ได้ว่า เกณฑ์ของเราเท่านี้ สามารถสมัครได้หรือไม่ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ก็จะประเมินความเป็นไปได้ของเราว่ายังพอจะสมัครได้หรือไม่ ถ้าเขาบอกว่าได้ ก็ลองสมัครดูเลยครับ (แต่ถ้าเกรดน้อยก็อาจจะต้องลุ้นหนักหน่อย) แต่ถ้าเขาบอกว่าไม่ได้ ก็อาจจะต้องว่ากันอีกทีแล้วล่ะครับว่า จะไม่สมัคร หรือว่าจะลองเสี่ยงดู อันนี้ก็แล้วแต่ศรัทธาเลยนะครับ (แต่โดยส่วนมากแล้วสมัครไปก็จะไม่ได้อยู่ดี เพราะกรณีของอังกฤษนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายรับสมัคร และภาควิชา มีอำนาจในการตัดสินใจร่วมกันว่า จะรับนักศึกษาคนนี้เข้าเรียนหรือไม่)
bigeyes.gif


2) กรณีที่เราสมัครไปก่อนหน้าแล้ว ตรงนี้ก็ไม่มีอะไรมากครับ ก็จะเป็นการพูดคุยกันซะมากกว่า แต่ก็อาจจะสอบถามรายละเอียดต่างๆ ที่นอกเหนือจากการสมัครได้ เช่น ระยะเวลาในการออกจดหมายตอบรับเข้าเรียน หรือการจองหอพัก เป็นต้น อันนี้ขอแฉนิดนึงนะครับว่า ถ้าเราคุยกับเจ้าหน้าที่กันถูกคอ หรือว่าเจ้าหน้าที่เขาพอใจในตัวเรา (ในเรื่องของ Qualify ของตัวเรานะ) เขาก็จะมีส่วนช่วยให้เรามีโอกาสได้รับการตอบรับมากขึ้น เช่น ช่วยคุยกับทางภาควิชาที่เราจะสมัคร หรือช่วยเร่งให้ทางมหาวิทยาลัยต้นสังกัดออกจดหมายตอบรับเข้าเรียนให้ เป็นต้น :eek:

บางมหาวิทยาลัยที่มาสัมภาษณ์นั้น บางครั้งก็อาจจะจัดสอบตรงในวันนั้น และรู้ผลในวันนั้นเลย ที่ได้ยินบ่อยมากๆ ก็คือ University of Greenwich เนี่ยแหละ สอบตรง, สอบสัมภาษณ์, และรู้ผลวันนั้นเลย (แต่อันนี้ผมไม่แน่ใจนะว่า ที่รับเลยนี่ คือรับเข้าเรียนเลย หรือว่าต้องไปเรียนภาษาที่โน่นก่อนเข้าชั้นเรียนนะ) นอกจากนี้ ยังมีบางสถาบันที่ถ้าใครจบหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทยมา ไม่ต้องสอบพวก TOEFL หรือ IELTS สามารถสมัครเข้าเรียนได้เลย (ถ้าถึงเกณฑ์ที่เขากำหนดไว้นะ) แต่ส่วนมากเขาก็คงแนะนำให้ไปลงเรียนภาษาที่นั่นก่อนอยู่ดี ???

ก่อนจบนั้น ผมขอพูดเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งยอมรับกันตรงๆ เลยนะครับว่า อาจจะเป็นปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่ นั่นก็คือ ชื่อมหาวิทยาลัยที่เราจบมา ครับ ตรงนี้ผมถือว่าเป็นข้อเสียอย่างหนึ่งที่ผมเองก็ค่อนข้างจะรับไม่ได้อยู่เหมือนกัน เพราะการสมัครมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั้น (โดยเฉพาะอังกฤษ) เราอาจจะต้องเจอกับเรื่อง สองมาตรฐาน ครับ บ่อยครั้งที่มหาวิทยาลัยที่อันดับสูงๆ จะดูชื่อสถาบันที่ผู้สมัครจบมา ซึ่งถ้าเราจบจากสถาบันที่เป็นที่รู้จัก (สำหรับเขา) หรือเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ (ในไทยเราส่วนมากก็ไม่พ้นจุฬาฯ หรือธรรมศาสตร์) ส่วนมากแล้วเกณฑ์ที่รับสมัครเขาจะลดลงมาให้ แต่ถ้าจบจากมหาวิทยาลัยทั่วๆ ไป ที่เขา (อาจจะ) ไม่รู้จักมากนัก เขาอาจจะเอาเกรดที่สูงมากกว่าปกติ (มากกว่าที่ระบุไว้ในเว็บไซต์) ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะทำให้หลายๆ คนไม่ชอบใจก็ได้ (ผมก็คนนึงล่ะ) เพราะเกณฑ์ถูกแบ่งออกเป็นสองมาตรฐานอย่างที่กล่าวไปก่อนหน้า หรือถ้าจะยกตัวอย่างง่ายๆ เลยก็คือ มีผู้สมัครเป็นคนไทยสองคน คนนึงจบจุฬาฯ อีกคนจบจาก ม.อื่น โดยมีเกรดเฉลี่ยเท่ากันทั้งสองคน เขาก็จะรับคนที่จบจากจุฬาฯ เอาไว้ก่อนเลย (ในที่นี้อีกคนที่จบจาก ม.อื่น ก็อดไป ซวยจริงๆ) และผมขอบ่นอะไรนิดนึงนะครับว่า ผมเคยไปสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่จาก University of Birmingham โดยสมัครต่อในสาขา Electronic, Electrical and Computer Engineering (ป.โท นะ) พอเขาดูชื่อมหาวิทยาลัยแล้ว เขาบอกเลยครับว่า จบจาก ม.นี้ เอาเกรดเฉลี่ย 3.40 ขึ้นไป (โห เอาเปรียบกันชัดๆ ในเว็บไม่เห็นบอกเอาเกรดขนาดนี้เลย) วันนั้นถึงกับเครียด + เสียความรู้สึกอย่างหนัก (ที่มาบอกว่าจบ ม.เราเอาเกรด 3.40 ขึ้นไปเนี่ยแหละ) ทำเอาผมสมัครไม่ลงเลย เพราะฉะนั้น เด็กราชมงคลอย่างเราๆ ก็ต้องทำใจล่ะครับ เป็นความจริงที่โหดร้าย แต่ก็ต้องยอมรับให้ได้ล่ะ เขากำหนดมาแบบนี้ :'( (แต่ยังดีที่ตอนผมสัมภาษณ์กับ University of Liverpool ทางเจ้าหน้าที่เขาไม่ได้สนใจเรื่องพวกนี้เลย ถ้าเรามีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่กำหนด มีโปรไฟล์สนับสนุนอื่นๆ ที่ดี มีความตั้งใจจะเรียนจริงๆ เขาก็ยอมรับในตัวเราแล้วครับ ซึ่งตรงนี้ผมพอใจกับเขามากๆ แต่เขาจะตอบรับเราหรือไม่นั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
wink.gif
)

พิมพ์มาซะยาว + คัดลอกข้อความเขามาซะยาว ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์นะครับ
smile.gif
 

kyoshiro23

New member
อ่านซะจนตาลาย แต่ก็มีประโยชน์ดีครับ สนับสนุน แฮะๆ
bigwink.gif


อันดีก็ลอกของคนอื่นมาแต่ก็มีความหมายดี "ขอบคุณ 1000 ครั้ง ไม่เท่าแบ่งปันหนึ่งเรื่อง"

แต่ถ้าได้ 3.40 นี่นะ เกือบได้เกรียตินิยมแล้วนะนั่น >
frown.gif
 

echelon

New member


Quote:

แต่ถ้าได้ 3.40 นี่นะ เกือบได้เกรียตินิยมแล้วนะนั่น >
frown.gif





ก็อย่างที่บอกน่ะ ต้องทำใจจริงๆ แฮะ ประมาณว่า เขาไม่เชื่อมั่นในคุณภาพของมหาวิทยาลัยที่เราจบมา (เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยกลุ่มต้นๆ ของประเทศ) และผมก็เชื่อว่าไม่ได้มีเฉพาะแค่ในอังกฤษหรอก ในอเมริกาหรือออสเตรเลียก็ต้องมีแน่ๆ ล่ะ ไอ้ประเภทสองมาตรฐานแบบนี้น่ะ เฮ้อ ก็อย่างที่เขาว่า ชื่อจุฬาฯ, ธรรมศาสตร์ เขาขายได้ ใช่สิ เรามันลูกเมียน้อย ชิ (ว่าไปโน่น 555+
tongue.gif
) สุดท้ายก็มักจะลงเอยด้วยการเปลี่ยนไปสมัครที่อื่นที่มันเหมาะสมกับเรา (แต่ไม่ใช่ไปเล็งประเภทที่แบบว่า ranking ต่ำติดดิน หรือประเภทที่เข้าง่ายจบง่ายนะ อันนี้เรียนในไทยน่าจะดีกว่า อิอิ
bigwink.gif
)

หรือถ้าอยากเข้าที่นี่จริงๆ ก็ต้องเสริมโปรไฟล์อื่นๆ ให้แกร่งมาก (ถึงมากที่สุด) แล้วก็ดั้นด้นสมัครด้วยตัวเองไปเลย ถ้าอย่างนั้นก็น่าจะยังพอลุ้นได้อยู่บ้าง (แต่ก็อย่าคาดหวังอะไรมาก เผื่อใจไว้บ้างก็ดี)
 

milozxx

New member
เดี๋ยวนี้มีแบบไม่ต้องใช้คะแนน GPA แล้วนี่คับ ไปเรียนได้ เห็นบ้างเวปบอกอย่างนี้อะคับ
 
Top