สารบัญ:
ประเด็นอื่นๆ
การทำ Money Management เป้าหมายคือ การจำกัดผลกระทบต่อการขาดทุนต่อเนื่อง
2. Monowave Groups & Polywave Groups
3. Impulsions & Corrections
4. Neely Extensions of Elliott Wave Theory
5. Impulsions and Correction End Confirmation
6. Complexity (Complex Polywaves, Multiwaves, Macrowaves)
7. Pattern Implications (Retracement based on Power Ratings)
8. Advanced Progress Labels (Specific label position of waves)
9. Advanced Fibonacci Relationships (Impulsions & Corrections)
10. Channeling (Trendline Touch Points / Time Rule)
Cr: Kitty63 B-)
Grandmaster ในสาขาใดๆ ไม่ได้เกิดมาจากพรสวรรค์ พวกเขาสร้างตัวเองขึ้นมาจากวิธีการฝึกฝนที่ใช้ได้ผล
คนที่ไปไม่ถึงไม่ใช่ว่าไร้ความสามารถ แค่ใช้วิธีการฝึกที่ใช้ไม่ได้ผลกับตัวเขาเอง
วุฒิการศึกษา, อายุ ไม่ใช่ขีดจำกัดที่จะเชี่ยวชาญในสาขาที่เลือกจะฝึกฝน
ไม่มีกฏหมื่นชั่วโมง อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า ขึ้นกับศาสตร์แขนงที่ฝึกฝน มันไม่มีกฏ (แย้งกับทฤษฎีของ Malcom Gladwell)
ไม่มีการฝึกแบบ General, คุณไม่ได้ฝึกเพื่อเป็นหมอ แต่ฝึกเพื่อเป็นหมอผ่าตัด, คุณไม่ได้ฝึกเพื่อเป็นนักกีฬา แต่ฝึกเพื่อเป็นนักบาสเกตบอล / นักวิ่ง, คุณไม่ได้ฝึกเป็นเซียนเกม แต่ฝึกเป็นเซียนหมากรุก / เซียนไพ่บริดจ์
การทำสิ่งที่เชี่ยวชาญซ้ำๆ หลายปีไม่ได้หมายความว่าคุณพัฒนาขึ้น (Perform ไม่ใช่ Practice)
Grandmaster ในศาสตร์ทุกแขนงจะมีทักษะสร้างภาพในจิตใจ เรียกว่า Mental Representation เช่น การอ่านการเคลื่อนไหวก่อนจ่ายบอลในฟุตบอล, การวางนิ้วของนักดนตรี, การจำตาเดินในหมากรุก
ขั้นไร้เดียงสาของการฝึกฝน ออกจาก Comfort Zone ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นโหมดอัตโนมัติแล้วหยุดฝึก แล้วทำสิ่งนั้นในโหมดอัตโนมัติไปเรื่อยๆ วิธีนี้จะได้ทักษะใหม่ แต่ทักษะจะเริ่มถดถอยเมื่อเข้าโหมดอัตโนมัติ
ขั้นถัดมาของการฝึกฝน ฝึกฝนอย่างมีเป้าหมายมากกว่าแค่ให้ทำได้ในโหมดอัตโนมัติ, Motivate ตัวเองตลอดเวลา, ออกจาก Comfort Zone อยู่เรื่อยๆ ระหว่างขั้นตอนการฝึกฝน, ปรับเปลี่ยนวิธีการเสมอๆ เมื่อชนขีดจำกัดเพื่อให้ก้าวหน้าไปทีละน้อย แต่วิธีนี้ยังมีข้อจำกัด และเสี่ยงที่จะเข้าด้านมืดไปซะก่อน แต่ก็ใช้การได้
ขั้นที่สามของการฝึกฝน ตามหาโยดา, หา Expert ในศาสตร์ที่ต้องการฝึกฝนให้เจอ แล้วฝึกฝนกับโยดา ถ้าหาไม่ได้ ให้ศึกษาคนที่เคยทำได้ดีที่สุดในศาสตร์แขนงนั้นๆ แล้วใช้การฝึกฝนขั้นที่สองไปต่อยอดจากจุดที่เขาทำไว้
โยดาจะมีวิธีการฝึกฝนที่ทำให้บรรลุศาสตร์นั้นที่ใช้ได้ผลมาแล้ว ให้ฝึกจากโยดา แต่ต้อง Adapt ให้เข้ากับลักษณะเฉพาะตน
โยดาจะต้องให้คำแนะนำได้มากกว่าถูกหรือผิด แต่จะต้องแนะนำได้ถึงกระบวนการที่ผู้ฝึกได้มาซึ่งผลลัพท์ แต่ไม่ใช่บอกให้ทำตาม ก็คือแนะนำให้พัฒนา Mental Representation ได้นั่นเอง
ศาสตร์ที่สามารถวัดผลได้ชัดเจนจากการแข่งขัน เช่น Musician, Game, Sport สามารถหา/วัด Expert ได้ง่ายจากผลงานการแข่งขัน
ศาสตร์ที่วัดผลจากการแข่งขันไม่ได้เช่น Doctor, Writer, Programmer, Engineer ให้ระบุความเชี่ยวชาญให้เจาะจงมากขึ้นเพื่อหาโยดา
ระวังการโน้มเอียงที่จะระบุผู้เชี่ยวชาญจากเพศ การศึกษา บุคลิกและภาพลักษณ์ ถือเป็นอคติอย่างหนึ่ง
เมื่อฝึกฝนสิ่งที่ไม่เคยทำได้ถึงระดับหนึ่ง สมอง/ร่างกายจะปรับเข้าโหมดที่เรื่องที่ไม่เคยทำได้นั้นกลายเป็นเรื่องธรรมดา เรียกว่า Homeostasis การฝึกฝนและพัฒนาจะต้องท้าทายสมอง/ร่างกายให้ออกจากโหมดนี้เสมอๆ
ทุน หมายถึง ทุนทางธุรกิจ (อาคาร เครื่องจักร สิทธิบัตร และอื่นๆ) อสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์ทางการเงิน (หุ้น พันธบัตร และอื่นๆ)
รายได้ประชาชาติ = ผลตอบแทนต่อทุน x อัตราส่วนทุน/รายได้
ความมั่งคั่งไม่ใช่รายได้เพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงสินทรัพย์ที่ครอบครอง
รายได้แยกเป็นสองประเภทคือรายได้จากแรงงานและรายได้จากทุน
การสะสมความมั่งคั่งของบุคคลแยกไม่ออกกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมนั้นๆ มีผลเสมอ
ตลาดและเทคโนโลยีนั้นเหมือนกันคือมันไม่มีศีลธรรม
สังคมที่มีคนอยู่และบริโภคด้วยรายได้จากทุนเพียงอย่างเดียวมีอยู่จริง (Passive Income ที่ปัจจุบันชอบเอามาใช้ขาย MLM กันนั่นเอง) ซึ่งเป็นสังคมก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง แต่เป็นคนกลุ่มเล็กมากราว 1 - 5 % ของประชากร โดยเรียกคนกลุ่มนี้ว่าเป็น Rentier หรือผู้มีรายได้จากดอกเบี้ยและค่าเช่า (ยุคนั้นดอกเบี้ยพันธบัตรสูงกว่าสมัยนี้มาก และการครอบครองอาคารก็ยังไม่มีลักษณะแบ่งเป็นห้องชุดแต่เป็นอาคารทั้งหลัง) ซึ่งมีความมั่งคั่งกว่ายี่สิบเท่าจากค่าเฉลี่ย
เหล่า Rentier ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ที่ได้รับมรดกมา และยังชีพจากการกินดอกผลจากทุนนั้น หรือเรียกได้ว่าสังคมสมัยนั้นเป็นสังคมอิงมรดกนั่นเอง
สภาพสังคมอิงมรดกมีลักษณะเด่นที่ว่า ความมั่งคั่งที่สามารถสะสมได้ และการเข้าถึงทรัพยากรของผู้ที่ได้รับมรดกหรือมีทุนเริ่มต้นสูงกว่านั้นมากกว่าคนที่มีแรงงานเป็นทุนเพียงอย่างเดียว (เมื่อวัดตลอดชีวิต) เป็นสิบเท่า
สังคมอิงมรดกหายไป (ชั่วคราว) ไม่ใช่ว่าเกิดจากปฏิวัติอุตสาหกรรม, การศึกษาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่เป็นผลสะเทือนของการที่ทุนถูกทำลายจากสงครามโลกทั้งสองครั้งและอัตราการเติบโตของประชากรสูงขึ้น (คนรุ่นเบบี้บูม)
ไม่มีกลไกเชิงเศรษฐกิจตามธรรมชาติใดที่ไม่ใช่การแทรกแซงจากรัฐในประวัติศาสตร์ มาก่อนที่จะลดความเหลื่อมล้ำด้านกรรมสิทธิ์ทุนและรายได้จากทุนได้ นอกจากสงครามและความขัดแย้งทางการเมือง
แนวคิดเชิดชูความสามารถของบุคคลว่าบุคคลสามารถมั่งคั่งขึ้นมาได้จากความสามารถล้วนๆ เทียบเท่ากับผู้มีทุนสูงกว่านั้นไม่เป็นจริงในเชิงเศรษฐศาสตร์ (จากเหตุผลด้านการเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสตลอดชีวิตด้านบน)
ตัวอย่างของข้อก่อนหน้าคือกรณีของ Liliane Bettencourt ทายาทลอรีอัล (ก่อตั้งปี 1907) ซึ่งทั้งชีวิตไม่เคยทำงานเลยแม้แต่วันเดียวแต่ก็มีสินทรัพย์ที่โตเร็วพอๆ กับ Bill Gates แถมยังมากเป็นหกเท่าของ Steve Jobs
การที่เรารับรู้และรู้สึกว่าทุนมนุษย์ (ความสามารถ) มีพลังมากกว่าทุนที่รับสืบทอดมานั้นเป็นภาพมายาของผลจากสงครามโลกทั้งสองครั้งที่ทำให้รายได้จากทุนลดลงต่ำกว่ารายได้จากแรงงาน (คิดเป็นเปอร์เซ็นจากรายได้ประชาชาติ) และเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่เป็นเช่นนั้น พร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของผู้จัดการและซีอีโอเงินเดือนสูง (ทำให้รายได้จากแรงงานไล่ทันและแซงรายได้จากทุนที่ลดลงจากผลของสงคราม) อนึ่ง สภาพเช่นนั้นได้จบลงแล้วในศตวรรษที่ 21 (รายได้จากทุนกลับมาสูงกว่ารายได้จากแรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ)
สังคมสมัยใหม่ความมั่งคั่งส่วนใหญ่จะถูกครอบครองแบบผสมระหว่างผู้ที่ได้รับสืบทอดทุนและเหล่าผู้จัดการที่ทั้งอาจเป็นผู้มีทุนที่รับสืบทอดมาด้วยหรือไม่ก็ได้
สังคมประชาธิปไตยนั้นอิงอยู่กับแนวคิดเรื่องความสามารถของบุคคล หรือก็อิงกับความใฝ่ฝันว่าทุกคนจะถูกตัดสินด้วยความสามารถของตน หมายถึงว่าความเหลื่อมล้ำนั้นเกิดจากความสามารถของคนเราไม่เท่ากันมากกว่า เพราะเครือญาติและรายได้จากทุน แต่โลกทุนนิยมไม่ได้เป็นแบบนั้น
การกระจายรายได้จากแรงงานเหลื่อมล้ำน้อยกว่าการกระจายรายได้จากทุนและกรรมสิทธิ์ทุนเสมอ ตลอดประวัติศาสตร์
รายได้จากแรงงานไม่มีทางไล่ทันราคาสินค้าและบริการซึ่งถูกกำหนดโดยผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ทุน ดังนั้นการเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นไม่ได้ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นอย่างที่เราเคยเข้าใจ เพราะไม่มีทางไล่ทัน
สังคมใดที่มีอัตราการเติบโต (เชิงเศรษฐกิจและเชิงประชากร) ต่ำนั้น มีแนวโน้มว่าทุนที่รับสืบทอดมา (ทั้งในรูปมรดกหรือให้ขณะมีชีวิต) จะมีความสำคัญ (ในการสะสมความมั่งคั่ง) มากขึ้นกว่าผู้ที่มีรายได้จากแรงงานเป็นความมั่งคั่งเพียงอย่างเดียวที่มี
อัตราการเติบโตจะไปลดผลตอบแทนต่อทุน (จ่ายค่าจ้างแรงงานมากขึ้น) และเพิ่มรายได้จากแรงงานในสัดส่วนรายได้ประชาชาติ
อัตราส่วนรายได้จากทุนในรายได้ประชาชาติ (รายได้ของประเทศนั้นๆ) จะมากกว่ารายได้จากแรงงานเสมอในข้อมูลตลอดประวัติศาสตร์ที่มี และจะเป็นเช่นนั้นไปเรื่อยๆ ถ้าโครงสร้างไม่เปลี่ยน แปลว่าถ้าทุกวันนี้คุณทำงานเพื่อไต่เงินเดือนเพียงอย่างเดียว มาผิดทางแล้วครับ คุณต้องครอบครองทุนให้ได้ถ้าคุณอยากสร้างความมั่งคั่ง
เงินนั้นสามารถสร้างเงินเป็นความจริงและชนะความสามารถของบุคคลเสมอในการสะสมความมั่งคั่ง โดยเฉพาะกับปริมาณใหญ่มากๆ (สามารถลงทุน เอาดอกผลมากิน และเอาส่วนที่เหลือไปลงทุนเพิ่ม ทบทวีไปเรื่อยๆ)
Marginal Productivity หรือผลิตภาพส่วนเพิ่มของแรงงานจะวัดยากและคลุมเครือกว่าผลิตภาพส่วนเพิ่มจากทุนเสมอ โดยจะวัดได้เฉพาะในแรงงานที่มีลักษณะเป็น Routine เหมือนกับไลน์การผลิตในยุคอุตสาหกรรมและในระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบเท่านั้น (คือเพิ่มแรงงานมาหนึ่งหน่วยก็จะเห็นความต่างทันที) ดังนั้นการที่ผลตอบแทนจากแรงงานของระดับผู้จัดการสูงกว่าพนักงานชั้นล่างทั่วไปนั้นยากจะบอกได้ว่าเป็นเพราะมี Productivity สูงกว่าจริงๆ ในเชิงเศรษฐศาสตร์
สภาพที่ผู้มีทุนน้อยสามารถสร้างผลตอบแทนต่อทุนได้เทียบเท่ากับผู้มีทุนสูงกว่านั้นไม่เคยเกิดขึ้นจริงๆ เพราะผู้มีทุนสูงสามารถใช้ "การประหยัดจากขนาด" (สามารถเข้าถึงโอกาสในการลงทุนได้มากกว่าจากการใช้ส่วนน้อยของทุนจ้างที่ปรึกษา/ผู้จัดการทางการเงินที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางได้) และสามารถใช้ "Alternative Investment Strategies" กระจายการลงทุนไปในหลายๆ สินทรัพย์ได้ ดังนั้นนักลงทุนรายย่อยจึงต้องรับผลตอบแทนต่อทุนที่ต่ำกว่าไป
การทำงานเก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณเป็นเพียงโมเดลหนึ่งเท่านั้นเรียกว่า Life Cycle Theory Of Wealth หมายถึงสังคมซึ่งสะสมความมั่งคั่งไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในยามเกษียณ และประชากรอาวุโสจะบริโภคทุนที่สะสมมาตลอดชีวิตการทำงานของพวกตนในช่วงเกษียณ (ในที่นี้หมายถึงบริโภคจนไม่เหลืออะไรไว้ให้สืบทอด)
ในศตวรรษที่ 21 กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของประเทศผู้ค้าน้ำมันจะมีสัดส่วนมากขึ้นในความมั่งคั่งรวมของโลก แต่ยังอีกห่างไกลความจริงกว่าจะถึงจุดที่คนตะวันตกจะเป็นคนจ่ายค่าเช่าให้คนซาอุฯ หรือกาตาร์
สำหรับคนชั้นกลางและชั้นล่างการซื้อบ้านจัดเป็นการลงทุนเพื่อป้องกันเงินเฟ้อถ้าคุณซื้อด้วยเงินสดเพราะมูลค่าจะเพิ่มใกล้เคียงกับราคาผู้บริโภคแต่มันจะไม่เป็นแบบนั้นถ้าคุณกู้
เงินเฟ้อนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำแต่ผลของมันตรงกันข้ามในปัจจุบัน เพราะเงินเฟ้อลดอัตราผลตอบแทนต่อทุนได้ไม่เร็วพอสำหรับทุนขนาดใหญ่ ตรงกันข้าม เงินเฟ้อทำให้ชนชั้นกลางและผู้ลงทุนรายย่อยสะสมทุนได้ยากขึ้นและจำเป็นต้องเพิ่มการตัดสินใจทางการลงทุนบ่อยขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระดับที่ต้องการ
การศึกษาและเทคโนโลยีเท่านั้นที่จะทำให้ผู้มีทุนเป็นแรงงานเพียงอย่างเดียวสามารถสร้างผลิตภาพ (Productivity) เพิ่มขึ้นมาได้ (แต่อย่าลืม ก็ยังคงไม่สามารถเพิ่มสูงเท่าส่วนของทุน โดยเฉพาะทุนที่รับสืบทอดมา ไม่ว่าจะในชั่วรุ่นเดียวกันหรือเปลี่ยนรุ่น)
วิธีการเพิ่มพลังใจ คือ ทำสิ่งที่ยังค้างคาให้เสร็จสมบูรณ์ และทำสิ่งที่ทำแล้วจะเพิ่มพลังกาย เช่น ออกกำลังกายอย่างน้อยหนึ่งวันต่อสัปดาห์ ดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร หรือไม่กินอาหารหลังสี่ทุ่ม ฯลฯ อีกวิธีหนึ่งคือ ผู้นำต้องคิดว่าตัวเองและคนรอบข้างล้วนเป็นตัวเอก ผู้นำบางคนคิดว่าตัวเองมีพลังล้นเหลือ จึงปล่อยพลังข่มคนอื่น ทำให้คนอื่นรู้สึกว่าถูกข่ม กลายเป็นตัวเองเป็นตัวเอก คนอื่นเป็นตัวประกอบ
[รู้จัก] ตัวเองและทำสิ่งที่ตัวเอง [ชอบ]:
It looks like you're new here. If you want to get involved, click one of these buttons!